ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 310 ผู้ใดหน่วงเหนี่ยวหรือกักขังผู้อื่นหรือกระทำด้วยประการใดให้ผู้อื่นปราศจากเสรีภาพในร่างกาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปีหรือปรับไม่เกิน 6,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ถ้าการกระทำความผิดตามวรรคแรก เป็นเหตุให้ผู้ถูกหน่วงเหนี่ยว ถูกกักขัง หรือปราศจากเสรีภาพในร่างกายนั้นถึงแก่ความตาย หรือรับอันตรายสาหัส ผู้กระทำต้องระวังโทษดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 290 มาตรา 297 หรือมาตรา 298 นั้น
องค์ประกอบมีดังนี้
1.ผู้ใด
2.หน่วงเหนี่ยวหรือกักขังผู้อื่น หรือกระทำด้วยประการใด ให้ผู้อื่นปราศจากเสรีภาพในร่างกาย
3.โดยเจตนา(องค์ประกอบภายใน)
ข้อที่จะนำมาพิจารณาก็คือองค์ประกอบข้อสอง คือ การหน่วงเหนี่ยวหรือกักขังหรือกระทำด้วยประการใดๆให้ผู้อื่นปราศจากเสรีภาพในร่างกาย การกระทำตามมาตรานี้ย่อมอาจเป็นการกระทำโดยเคลื่อนไหว หรือเป็นการงดเว้นเคลื่อนไหวร่างกายตามมาตรา 59 วรรคสุดท้าย ก็ได้ปัญหาที่จะต้องพิจารณาต่อไปก็คือคำว่า "หน่วงเหนี่ยว"หรือคำว่า"กักขัง"หมายความว่าอย่างไร คำว่า“ หน่วงเหนี่ยว"หมายความว่าทำให้บุคคลต้องอยู่ตรง ณ ที่นั้นไม่ให้ไปยังจุดอื่นหรือพูดง่าย ๆ คือตั้งตัวเขาไว้ตรง ณ ที่นั้นยกตัวอย่างเช่น ก. ล่ามโซ่ ๆ ไว้กับเสาย่อมเป็นการหน่วงเหนี่ยวไม่ให้เคลื่อนไหวร่างกายไปยังที่อื่นส่วนคำว่า“ กักขัง” หมายถึงการบังคับให้บุคคลอยู่ในที่จำกัด เช่นการขังไว้ในห้องน้ำอย่างไรก็ตามบางกรณีเป็นได้ทั้งสองอย่างยกตัวอย่าง เช่นการจับขังไว้ในห้องน้ำก็ย่อมไปที่อื่นไม่ได้เป็นหน่วงเหนียวและในขณะเดียวกันก็เป็นการบังคับให้อยู่ในที่ จำกัด ก็เป็นการกักขังอยู่ในตัว ฉุดหญิงลงจากรถยนต์ที่นั่งมาด้วยกันดึงเข้าไปในโรงเรียนหน่วงเหนี่ยวไว้ในโรงเรียนไม่มีเสรีภาพจะไปไหนดังที่ต้องการได้เป็นการหน่วงเหนียวหรือถูกขังให้ปราศจากเสรีภาพในร่างกายฎีกาที่ ๒๕๖๐/๒๕๑๗ หรือหญิงหนีลงไปในบ่อไม่กล้าขึ้นจากน้ำเพราะเกรงจำเลยจะมาทำร้าย (ฎีกาที่ ๑๕๑๔/๒๕๓๒) การจับโดยไม่มีหมายจับ (ฎีกาที่ ๑๐๘๙/๒๕๑๒) หรือจำเลยอุ้มผู้เสียหายขึ้นไปบนรถ (ฎีกาที่ ๙๘๕/๒๕๔๖) การฉุดขึ้นรถยนต์ก็เป็นการหน่วงเหนี่ยว (ฎีกาที่ ๒๓๙/๒๕๔๗) สถานที่กักขังอาจจะเป็นห้องหรือสถานที่ใดสถานที่หนึ่งก็ได้เช่นในรถในเรือหรือบนเครื่องบินมีนักกฎหมายบางท่านเห็นถึงขนาดว่าการ จำกัด ไม่ให้ออกไปจากท้องที่เช่นอำเภอหรือจังหวัดก็เป็นกักขังตามมาตรา ๓๑๐ นี้ได้ตามมาตรา ๓๑๐ ในส่วนของการกระทำนอกจากจะมีเรื่องการหน่วงเหนี่ยวหรือการกักขังซึ่งเห็นอยู่ในตัวว่าทำให้ปราศจากเสรีภาพในร่างกายมาตรา ๓๑๐ ยังบัญญัติต่อไปว่าหรือการกระทำด้วยประการใดให้ผู้อื่นปราศจากเสรีภาพในร่างกายเพราะฉะนั้นการกระทำตามมาตรา ๓๑๐ นี้ไม่จำเป็นที่จะต้องเป็น แต่เฉพาะเรื่องหน่วงเหนี่ยวหรือกักขังยกตัวอย่างเช่นบอกก. ว่าเดี๋ยวครูกำลังจะมาหาโดยมีเจตนาที่จะรั้งไม่ให้ ก. ไปไหนเพื่อให้หลงเชื่อ ซึ่งเป็นความเท็จเช่นนี้ก็เป็นการหน่วงเหนียว ก ไว้โดยการใช้อุบายหลอกลวงหรือกระทำด้วยประการอื่นใดปัญหาว่าปราศจากเสรีภาพในร่างกายตามมาตรา ๓๑๐ มีความหมายกว้างแคบแค่ไหนเพราะคำว่าเสรีภาพในร่างกายมีความหมายกว้างมากอาจจะหมายถึงการเคลื่อนไหวร่างกายทุก ๆ อย่างหรืออาจจะหมายถึงเสรีภาพในการขีดในการเขียนในการคิดท่านศาสตราจารย์จิตติติงศภัทิย์และนักวิชาการส่วนใหญ่เห็นว่าคำว่า“ เสรีภาพ "ตามมาตรา ๓๐๐ นี้จะต้องตีความว่าเป็นเสรีภาพในร่างกายในทำนองเดียวกับการหน่วงเหนี่ยวกักขังคือเป็นการ จำกัด การเคลื่อนไหวอวัยวะของร่างกายลงอยู่ในขอบเขต จำกัด เช่นถูกใส่กุญแจมือ (ฎีกาที่ ๑๕.๓๐ / ๒๕๔๒ และฎีกาที่ ๗๔๔/๒๕๐๑) หรือเช่นใส่กลอนขังไว้ในห้องนอน (ฎีกาที่ ๓๖๖๘/๒๕๕๕) ดังได้กล่าวแล้วว่าการกระทำตามมาตรา ๓๑๐ รวมถึงการงดเว้นการซึ่งจะต้องกระทำการเพื่อป้องกันผลตามมาตรา ๕๙ วรรคสุดท้ายด้วยและถ้าพิจารณาตามมาตรา ๓๑๐ จะเห็นได้ว่าวิธีการหน่วงเหนี่ยวกักขังหรือทำให้ปราศจากเสรีภาพในร่างกายนั้นกระทำด้วยประการใด ๆ ก็ได้ไม่ จำกัด ซึ่งต่างไปจากมาตรา ๓๐๙ ที่ส่วนของการกระทำคือทำให้กลัวว่าจะเกิดอันตรายต่อชีวิตร่างกายอื่น ๆ หรือมิฉะนั้นก็ต้องเป็นการใช้กำลังประทุษร้ายดังนั้นมาตรา ๓๐๙ เป็นการ จำกัด วิธีในการกระทำ แต่ไม่จํากัดเสรีภาพที่เสียไปว่าจะเป็นเสรีภาพประเภทไหน ส่วนมาตรา ๓๐๐ ไม่จำกัด วิธีในการกระทำ แต่มุ่งหมายจำกัดเสรีภาพที่เสียไปเฉพาะเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวร่างกาย คำพิพากษาฎีกาที่ ๔๒๔๓/๒๕๔๒ จำเลยไม่มีหมายจับจับผู้เสียหายไม่แจ้งข้อหาไม่ส่งมอบผู้เสียหายให้พนักงานสอบสวนดำเนินคดีกลับนำไปควบคุมที่ด่านตรวจผิดมาตรา ๑๕๒ และ ๓๑๐ และดูฎีกาที่ ๑๒๐๘/๒๕๐๘ ฎีกาที่ ๑๐๗๗/๒๕๐๕ ฎีกาที่ ๕๗/๒๕๑๗) ในคดีนี้ศาลฎีกาเห็นว่าเป็นเรื่องรุนแรงไม่มีเหตุที่จะรอการลงโทษถ้าผู้กระทำกระทำโดยมีอำนาจตามกฎหมายก็ไม่เป็นความผิดเช่นเจ้าพนักงานตำรวจจับผู้ต้องหาซึ่งกระทำความผิดฎีกาที่ ๔๓๗/๒๕๕๕ ซึ่จับไว้เพราะจำเลยเมาสุราอาละวาดหรือในกรณีเช่นเด็กอายุ 6 ขวบเข้าไปลักมะม่วงในสวนเจ้าของสวนจับเด็กมัดมือคร่อมไว้กับต้นมะม่วงประมาณ 10 นาทีแล้วมารดาของเด็กมารับตัวเด็กไปศาลฎีกาวินิจฉัยว่าการกระทำของเด็กเป็นความผิด แต่กฎหมายไม่เอาโทษเจ้าของสวนมีอำนาจจับเพื่อระงับเหตุการณ์อันจะพึงมีไม่เป็นความผิด (ฎีกาที่ ๑๔๖/๒๔๗๒) ป. ไล่ทำร้าย ล ไปถึงหน้าบันไดเรือน ล ตี ป เป็นการป้องกันตัวสมควรแก่เหตุและการที่ ล จับ ป มัดเอาไว้เพื่อส่งเจ้าหน้าที่ไม่มีความผิด (ฎีกาที่ ๗๓๗/๒๔๗๓) ไล่ทําร้าย
ทั้งนี้อาจจะเป็นเพราะว่าราษฎรมีอำนาจจับผู้กระทำความผิดซึ่งหน้าตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา ๗๘ หรืออย่างกรณีเช่นนายประกันมีอำนาจจับบุคคลที่ตนประกันไว้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา ๑๑๗ (ฎีกาที่ ๑๖๒/๒๕๕๖) หรือในกรณีที่ผู้พิพากษาใช้ดุลพินิจในการสั่งถอนประกันทำให้จำเลยต้องถูกคุมขังก็ไม่เป็นความผิด (ฎีกาที่ ๔๖๖/๒๕๑๘ ฎีกาที่ ๕๔/๒๕๓๐ หรือศาลสั่งตามอำนาจให้รอฟังคำสั่งฎีกาที่ ๒๕๘/๒๕๒๔) แต่การจับคนโดยไม่มีมูลหรือไม่มีอำนาจเป็นการแกล้งจับนอกจากจะเป็นความผิดตามมาตรา ๓๐๐ นี้แล้วยังอาจจะเป็นความผิดตามมาตรา ๑๕๗ ได้อีกด้วย (ฎีกาที่ ๒๕๕๔ ๒๕๒๐ เป็นต้น) มีข้อสังเกตอีกประการหนึ่งว่าการกระทำให้ปราศจากเสรีภาพกฎหมายมุ่งประสงค์ถึงตัวบุคคลดังนั้นถ้าผู้ถูกกระทำยังอาจเคลื่อนไหวไปไหนมาไหนได้เช่นนี้ฎีกาวินิจฉัยว่าไม่เป็นความผิดตามมาตรา ๓๑๐ คำพิพากษาฎีกาที่ ๑๙๐๔/๒๕๑๘ ถนนซอยในที่ดินเอกชนซึ่งแบ่งให้เช่าปลูกบ้านประชาชนชอบที่จะเข้าออกติดต่อกันได้เป็นสาธารณะการเอารถยนต์ขวางกันไม่ให้รถข้างในออกจากซอยได้นั้นไม่เป็นความผิดตามมาตรา ๓๐๐ แต่การที่ไม่ยอมถอยรถให้รถข้างในออกไปได้เป็นการข่มเหงตามมาตรา ๒๙๗ ล่ามโซ่ใส่กุญแจประตูใหญ่ทำให้โจทก์ออกจากบริเวณบ้านไม่ได้โจทก์ต้องปืนกำแพงรั้วกระโดดลงมาได้รับบาดเจ็บเป็นความผิดตามมาตรา ๓๑๐ วรรคแรก (ฎีกาที่ ๔๒๘/๒๕๒๐) ใส่กุญแจประตูตึกแถวผู้เช่าเข้าห้องไม่ได้ไม่ผิด ๓๑๐ (ฎีกาที่ ๒๑ ๒๕๓๑) ก
จากฎีกาข้างต้นจะเห็นได้ว่าบุคคลที่อยู่ในรถสามารถเดินลงจากรถไปยัง ณ ที่อื่น ๆ ได้หรือเดินจากห้องเช่าไปยังที่อื่นได้ตามปกติศาลฎีกาจึงวินิจฉัยว่าไม่เป็นความผิดฐานทำให้เสื่อมเสียเสรีภาพทำนองเดียวกันกับการขับรถยนต์ปาดหน้าทำให้ต้องหยุดรถไม่เป็นความผิดตามมาตรา ๓๐๐ (ฎีกาที่ ๑๗๑๗/๒๕๒๗)
องค์ประกอบข้อสุดท้ายคือองค์ประกอบภายในส่วนของจิตใจ ได้แก่ เจตนาตามมาตรา ๕๙ คือมีเจตนาที่จะหน่วงเหนี่ยวกักขังหรือกระทำด้วยประการอื่นใดทำให้บุคคลปราศจากเสรีภาพในร่างกาย
คำพิพากษาฎีกาที่ ๒๐๒๕/๒๕๒๑ จำเลยกับพวกควบคุมตัวผู้เสียหายกับพวกเป็นประกันเพื่อการสะดวกแก่การพาทรัพย์ไปอันเป็นองค์ประกอบของความผิดฐานปล้นทรัพย์การกระทำของจำเลยย่อมไม่เป็นความผิดตามมาตรา ๓๐๙ ๓๑๐ อีกกรรมหนึ่งต่างหาก (การควบคุมเป็นการกระทำต่อเสรีภาพไม่ใช่การกระทำต่อเนื้อตัวจิตใจจึงมิใช่การใช้กำลังประทุษร้ายซึ่งเป็นองค์ประกอบของความผิดฐานชิงทรัพย์เว้นแต่การหน่วงเหนี่ยวเป็นการประทุษร้ายอยู่ในตัวด้วย)
คำพิพากษาฎีกาที่ ๖๔๒/๒๕๕๙ บ. กับอ. เคยอยู่กินกันอย่างสามีภริยากันได้ ๓ เดือน อ. จึงออกจากบ้านไปบ. สามีพบ อ. ชวน อ. กลับบ้าน อ. ไม่ยอม บ. จึงฉุด อ. เพื่อให้ไปอยู่กินด้วยกันตามเดิมถึงแม้ อ. จะมิใช่ภริยาโดยถูกต้องตามกฎหมายเพราะมิได้จดทะเบียน บ. ก็ไม่มีความผิด (ดูฎีกาที่ ๔๓๐/๒๕๓๒) ซึ่งเป็นเรื่องที่เชื่อว่าตนมีอำนาจที่จะกระทำได้ (ฎีกาที่ ๑๒๒๑/๒๔๗๙) กรณีเหล่านี้เป็นกรณีที่อ้างว่าสำคัญ