วันพุธที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2564

เจ้าหนี้แก้ไขจำนวนเงินในสัญญากู้ยืม มีผลอย่างไร

กรณีเจ้าหนี้มีการแก้ไขจำนวนเงินในสัญญากู้ยืม

              บางครั้งฝ่ายเจ้าหนี้ได้แก้ไขจำนวนเงินในสัญญากู้ยืมก่อนแล้วจึงนำมาฟ้องปัญหาว่าผู้กู้จะต้องรับผิดหรือไม่เพียงใดแยกเป็น 5 กรณี 

              5.1 แก้ไขจำนวนเงินในขณะที่เขียนสัญญากู้  กรณีนี้อาจจะเกิดขึ้นเพราะเขียนผิด เช่น กู้กันเพียง 5,000 บาท แต่เขียนผิดเป็น 6,000 บาทจึงแก้ไขให้เป็น 5,000 บาท ตามที่กู้จริงหรือเขียนสัญญากู้ระบุจำนวน 10,000 บาท ขณะกำลังเขียนสัญญาผู้กู้ขอกู้เพิ่มเป็น 20,000 บาท ผู้ให้กู้ตกลงจึงแก้จำนวนเงินเป็น 20,000 บาทตามที่กู้จริงก่อนที่ ผู้กู้จะลงชื่อในสัญญากู้ ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าในกรณีที่มีการแก้ไขตัวเลขจำนวนเงินในขณะเขียนสัญญากู้ แม้ผู้กู้จะไม่ได้ลงชื่อกำกับก็ใช้ได้เพราะถือว่าเป็นเจตนากู้ยืมกันครั้งเดียวตามจำนวนที่แก้ไขแล้วลงชื่อไว้ท้ายสัญญาแห่งเดียวก็ใช้เป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมโดยสมบูรณ์ (ฎีกาที่ 1154/2511) 

             5.2 แก้ไขจำนวนเงินในสัญญากู้เดิม เมื่อมีการกู้ยืมครั้งใหม่หลังจากทำสัญญากู้จนเสร็จสมบูรณ์แล้วต่อมา ผู้กู้ขอกู้เพิ่ม คู่กรณีไม่ทำสัญญาฉบับใหม่ แต่ใช้วิธีเปลี่ยนจำนวนเงินกู้ในสัญญาฉบับเก่าเช่นเดิมกู้ยืมเงิน 10,000 บาท ทำหนังสือสัญญากู้กันไว้ 10,000 บาท เมื่อครบกำหนดเวลาชำระหนี้แล้วผู้กู้ขอกู้เพิ่มอีก 10,000 บาทจึงเอาสัญญากู้ฉบับเดิมมาขีดฆ่าจำนวนเงินเดิมแล้วเขียนใหม่เป็น 20,000 บาท โดยผู้กู้ไม่ได้ลงชื่อกำกับ ต่อมาเจ้าหนี้ฟ้องให้บังคับชำระหนี้เงินกู้ 20,000 บาทตามสัญญากู้ที่มีการแก้ไขดังกล่าวศาลฎีกาวินิจฉัยว่าถือว่าการกู้ครั้งใหม่ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือผู้กู้รับผิดเฉพาะ การกู้ครั้งแรกเท่านั้น (ฎีกาที่ 326 /2507)

             5.3 แก้ไขจำนวนเงินในสัญญากู้ให้สูงขึ้นโดยผู้กู้ไม่ยินยอม   เช่นกู้ยืมเงินเพียง 5,000 บาท ต่อมาผู้กู้ไม่ชำระหนี้ผู้ให้กู้จึงเติม 0 อีก 1 ตัวเป็น 50,000 บาท หรือเติม 1 เป็น 15,000 บาท แล้วนำสัญญานั้นมาฟ้องศาลฎีกาวินิจฉัยว่า เอกสารดังกล่าวเป็นเอกสารปลอม จำเลยไม่ต้องผิดตามสัญญากู้ปลอม แต่ให้จำเลยผู้กู้รับผิดใช้เงิน 5,000 บาท ตามที่กู้จริง เพราะก่อนฟ้องการกู้เงิน 5,000 บาท มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือ (ฎีกาที่ 407/2542, 1149/2552) 

             5.4 สัญญากู้ไม่ได้กรอกจำนวนเงินไว้ มี 2 กรณี

                   5.4.1 ผู้ให้กู้กรอกจำนวนเงินสูงกว่าที่กู้จริง บางครั้งผู้กู้เพียงแต่ลงชื่อเป็นผู้กู้ในแบบพิมพ์สัญญากู้ซึ่งไม่มีการกรอกจำนวนเงิน เมื่อผู้ให้กู้จะฟ้องคดีจึงกรอกข้อความระบุจำนวนเงินที่กู้สูงกว่าที่กู้จริงเช่นกู้ยืมเงิน 5,000 บาท โดยให้ผู้กู้ลงชื่อในช่องผู้กู้ในแบบพิมพ์สัญญากู้ที่ยังไม่ได้กรอกข้อความ ต่อมาผู้กู้ไม่ชำระหนี้ผู้ให้กู้จึงกรอกจำนวนเงินในสัญญากู้เป็น 50,000 บาทหรือ 15,000 บาท ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าสัญญากู้ฉบับที่นำมาฟ้องเป็นสัญญาปลอมพิพากษายกฟ้อง โดยผู้กู้ไม่ต้องรับผิดเลย (ฎีกาที่ 2518/2547, 7541/2548, 759/2557) แม้ผู้กู้และผู้ค้ำประกันจะให้การยอมรับว่ากู้จริง 5,000 บาทก็ตาม (ฎีกาที่ 513/2537 และ 1539/2548) จะเห็นได้ว่าผลแตกต่างกับกรณีตามข้อ 5.3 ที่ศาลฎีกาพิพากษาให้ชำระหนี้ตามสัญญาฉบับก่อนมีการแก้ไข เพราะในกรณีตามข้อนี้ไม่เคยมีการกรอกจำนวนเงินที่ถูกต้องในสัญญากู้ฉบับที่ถูกต้องเลย 

                   5.4.2 ผู้ให้กู้กรอกจำนวนเงินตามที่กู้จริงถ้าทำสัญญากู้กันโดยผู้กู้ลงชื่อไว้ในแบบพิมพ์สัญญากู้ที่ยังไม่ได้กรอกข้อความต่อมาเมื่อผู้กู้ไม่ชำระหนี้ผู้ให้กู้จึงกรอกข้อความและจำนวนเงินตามความเป็นจริงที่ตกลงกันดังนี้สัญญากู้ดังกล่าวใช้บังคับได้ (ฎีกาที่ 7428/2543, 5685/2548 และ 1483/2551)

             5.5 กรณีที่กู้ยืมเพียงครั้งเดียวแต่ผู้กู้ลงชื่อไว้ในสัญญากู้ ๒ ฉบับ

                  คำพิพากษาฎีกาที่ 730/2508 จำเลยที่ 1 กู้เงินโจทก์ 7,000 บาท แต่ทำสัญญากู้ให้โจทก์ไว้ 2 ฉบับ ฉบับแรกระบุจำนวนเงินกู้ 7,000 บาท ฉบับที่สอง 14,000 บาท จำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันโดยตกลงกันว่าถ้าไม่ชำระหนี้ให้โจทก์นำสัญญากู้ฉบับที่สองมาฟ้อง เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ชำระหนี้ โจทก์จึงนำสัญญากู้ฉบับที่สองมาฟ้อง ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า เห็นได้ว่าประโยชน์ที่ผู้ให้กู้ได้รับมากเกินสมควร เป็นการที่มีวัตถุประสงค์ต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายเป็นโมฆะ จำเลยที่ 1 ผู้กู้คงต้องรับผิดเฉพาะเงิน 7,000 บาท ส่วนจำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันหนี้เงินกู้ 14,000 บาท มิได้ค้ำประกันหนี้เงินกู้ 7,000 บาท จึงหาต้องรับผิดด้วยไม่ 

            "ทำสัญญากู้ยืมเงินอย่างไร ไม่เสียเปรียบลูกหนี้"


                            Add Friend   

                                                

                                               


วันเสาร์ที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2564

ทวงหนี้ไม่เป็นธรรม จูงใจให้ลูกหนี้ออกเช็คโดยรู้อยู่ว่า ลูกหนี้ไม่มีเงิน คุก 1 ปี

                  ทวงหนี้ไม่เป็นธรรม จูงใจให้ลูกหนี้ออกเช็คโดยรู้อยู่ว่า ลูกหนี้ไม่มีเงิน อาจติด คุก 1 ปี

                  เจ้าหนี้ตามทวงหนี้ ลูกหนี้บอกแล้วว่า ยังไม่มีเงิน รอก่อน นะ ไม่ได้หนี ขอผ่อนเวลา ขอผ่อนชำระได้ไหม เจ้าหนี้ ไม่ยอม รู้ว่าลูกหนี้ไม่มีเงิน แต่จูงใจลูกหนี้ให้ออกเช็คให้ เพื่อจะนำเช็คไปขึ้นเงิน ถ้าเช็คเด้ง จะได้เป็นคดีอาญา ลูกหนี้ก็ออกเช็ค แบบนี้ เรียกว่า "เจ้าหนี้ทวงหนี้ไม่เป็นธรรม" ซึ่งถ้าเจ้าหนี้ใช้สิทธิฟ้องตามเช็ค ศาลต้องยกฟ้อง มีตัวอย่างฎีกา คือ 

                 คำพิพากษาศาลฎีกาที่  6581-6582/2556 จำเลยออกเช็คให้ผู้เสียหาย โดยผู้เสียหายรู้ดีว่าขณะที่ออกเช็คนั้น จำเลยไม่อาจชำระเงินตามเช็คได้ แต่จำเลยอยู่ในภาวะที่ต้องออกเช็คเพื่อเป็นหลักประกันแก่ผู้เสียหายในเวลาที่ผู้เสียหายรู้ว่าจำเลยยังไม่มีเงินที่จะมาชำระหนี้แก่ผู้เสียหาย จึงไม่อาจรับฟังได้ว่าจำเลยกับผู้เสียหายมีเจตนาใช้เช็คพิพาทเป็นการชำระหนี้

                 นอกจากศาลยกฟ้องแล้ว เจ้าหนี้ อาจถูกดำเนินคดีอาญา ฐานความผิด ตาม พระราชบัญญัติทวงถามหนี้ พ.ศ.๒๕๕๘ มาตรา ๑๓ และ มาตรา ๓๙ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือ ปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ 

                 "ทวงหนี้อย่างไร ไม่ติดคุก ติดต่อ ทนายความ"


                            Add Friend   

                                                

                                               

                                                      

วันศุกร์ที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564

  ยืมใช้สิ้นเปลือง 
"เพื่อนยืมเงินแล้วไม่คืน"

               ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๖๕๐ บัญญัติว่า อันว่ายืมใช้สิ้นเปลือง นั้น คือสัญญาซึ่งผู้ให้ยืมโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินชนิดใช้ไปสิ้นไปนั้นเป็นปริมาณมีกำหนดให้ไปแก่ผู้ยืม  และผู้ยืมตกลงว่า จะคืนทรัพย์สินเป็นประเภท ชนิด และปริมาณเช่นเดียวกัน ให้แทนทรัพย์สินซึ่งให้ยืมนั้น

               สัญญานี้ย่อมบริบูรณ์ต่อเมื่อส่งมอบทรัพย์สินที่ยืม

               ลักษณะสำคัญ

               ๑.เป็นสัญญาไม่ต่างตอบแทน  เมื่อเกิดเป็นสัญญาบริบูรณ์แล้ว ผู้ยืมเท่านั้น มีหน้าที่ต้องคืนทรัพย์สินที่ยืม ผู้ให้ยืมไม่มีหนี้ที่จะต้องปฏิบัติตามสัญญายืม การส่งมอบทรัพย์ที่ยืมให้แก่ผู้ยืมเป็นการกระทำที่ทำให้สัญญายืมบริบูรณ์ไม่ใช่หนี้ตามสัญญา แม้เป็นสัญญาไม่ต่างตอบแทนแต่สัญญายืมใช้สิ้นเปลืองอาจเป็นสัญญามีค่าตอบแทนได้ เช่น ให้ยืมเงินโดยคิดดอกเบี้ย

               ๒. เป็นสัญญาที่โอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ยืม ดังนั้น ผู้ให้ยืมใช้สิ้นเปลืองต้องเป็นเจ้าของทรัพย์สินที่ให้ยืม  กรณีเกิดความเสียหายหรือสูญหายแก่ทรัพย์สินที่ยืม ผู้ยืมจะต้องเป็นคนรับผลในความเสียหาย ซึ่งเป็นข้อแตกต่างจากสัญญายืมใช้คงรูป

               ๓.วัตถุแห่งหนี้ตามสัญญายืมใช้สิ้นเปลืองต้องเป็นทรัพย์ชนิดใช้ไปสิ้นไป เช่น ยืมข้าวสาร ยืมปูน ยืมน้ำมัน ยืมเงิน โดยต้องดูที่เจตนาของคู่สัญญา ว่า เจตนาจะยืมไปใช้ให้หมดไป แล้ว เมื่อถึงกำหนดคืน จะให้คืนอันใหม่แทน หรือไม่ 

               ๔.เป็นสัญญาที่บริบูรณ์เมื่อส่งมอบทรัพย์สินที่ยืม  การไม่ส่งมอบทรัพย์สินที่ยืมให้แก่ผู้ยืม นั้น ไม่ได้ทำให้สัญญาเป็นโมฆะ แต่ไม่สามารถใช้บังคับได้ สิทธิหน้าที่ระหว่างคู่สัญญายังไม่เกิด เมื่อส่งมอบทรัพย์สินที่ยืมแล้ว สัญญายืมจึงสมบูรณ์ 

               สัญญาจะให้ยืม  มีได้หรือไม่  มีแนวคำพิพากษาศาลฎีกา ๒๙๒๓/๒๕๒๕ จำเลยจะจัดสรรที่ดินและปลูกบ้านขายจึงทำสัญญากับบริษัทโจทก์ว่า โจทก์มีสิทธิเข้าควบคุมอนุมัติโครงการและควบคุมการก่อสร้างโดยจำเลยจะต้องจ่ายค่าควบคุมงานปลูกบ้านหลังละ ๗๐๐ บาท ให้แก่โจทก์ และโจทก์มีหน้าที่ต้องให้จำเลย และผู้ซื้อบ้านพร้อมที่ดินจากจำเลยกู้ร้อยละ ๗๕ ของราคาที่ดินและบ้าน ต่อมามีการผิดสัญญา ่โจทก์ฟ้องเรียกเงินที่ให้กู้ยืมไปแล้วคืน จำเลยให้การและฟ้องแย้งว่า โจทก์รับเงินค่าจ้างควบคุมงานไปแล้วไม่ยอมให้จำเลย และลูกค้ากู้เงิน โจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญา จำเลยจึงฟ้องแย้งเรียกค่าเสียหาย ่โจทก์ให้การแก้ฟ้องแย้งว่า ตามกฎหมายไม่มีสัญญาจะให้ยืม โจทก์จึงไม่ต้องรับผิดใช้ค่าเสียหาย ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า สัญญาดังกล่าวเป็นสัญญาต่างตอบแทนกันเป็นพิเศษ ยิ่งกว่าสัญญากู้ยืมธรรมดา เมื่อโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาไม่ยอมให้จำเลยและผู้ซื้อที่ดินกู้เงินโจทก์ตามข้อตกลง โจทก์จึงต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายแก่จำเลย 

                ศาลฎีกาไม่ได้วินิจฉัย ว่า มีสัญญาจะให้ยืมได้หรือไม่  แต่ ถ้ามีข้อตกลงที่คู่สัญญาตกลงกัน ในขณะเข้าทำสัญญา ในลักษณะต่างตอบแทนกันเป็นพิเศษ ก็สามารถบังคับกันได้ แม้สัญญากู้ยืมไม่สมบูรณ์ ตามแนวฎีกา การฟ้องแย้งของจำเลย เป็นการฟ้องเรียกค่าเสียหาย ไม่ได้ฟ้องแย้งให้ส่งมอบเงินที่ตกลงกันว่าจะให้จำเลยกู้ยืม จึงยังเป็นปัญหาว่า สัญญาจะให้ยืมสามารถบังคับได้หรือไม่

Add Friend

               

วันศุกร์ที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564

 ยืมใช้คงรูป 

                        ลักษณะของสัญญายืมใช้คงรูป มาตรา ๖๔๐ บัญญัติว่า อันว่ายืมใช้คงรูปนั้น คือสัญญาซึ่งบุคลคนหนึ่ง เรียกว่าผู้ให้ยืม ให้บุคคลอีกคนหนึ่งเรียกว่า ผู้ยืม ใช้สอยทรัพย์สินสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้เปล่า และผู้ยืมตกลงว่า จะคืนทรัพย์สินนั้นเมื่อได้ใช้สอยเสร็จแล้ว" และมาตรา ๖๔๑ บัญญัติว่า การให้ยืมใช้คงรูปนั้น ท่านว่าย่อมบริบูรณ์ต่อเมื่อส่งมอบทรัพย์สินซึ่งให้ยืม จากข้อความดังกล่าวแสดงลักษณะของสัญญายืมใช้คงรูปว่ามีอยู่ ๔ ประการคือ
                        ๑. เป็นสัญญาที่วัตถุแห่งสิทธิเป็นทรัพย์สิน มาตรา ๖๔๐ ใช้คำว่า ให้ผู้ยืมใช้สอย "ทรัพย์สินสิ่งใดสิ่งหนึ่ง" มาตรา ๑๓๘ ให้บทนิยามคำว่า "ทรัพย์สิน หมายความรวมทั้งทรัพย์และวัตถุไม่มีรูปร่าง ซึ่งอาจมีราคาและอาจถือเอาได้" เมื่อมาตรา ๖๔๐ ใช้คำว่า "ทรัพย์สิน" ดังนั้นวัตถุแห่งสิทธิตามสัญญายืมใช้คงรูปอาจจะเป็นของที่มีรูปร่างหรือไม่มีรูปร่างก็ได้ แต่จะต้องคืนทรัพย์สินนั้นเมื่อใช้สอยเสร็จแล้ว ทรัพย์สินที่ยืมจะเป็นสังหาริมทรัพย์หรืออสังหาริมทรัพย์ก็ได้
                        ๒. เป็นสัญญาที่ไม่มีค่าตอบแทน เนื่องจากมาตรา ๖๔๐ ใช้คำว่า "ใช้สอยทรัพย์สินสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้เปล่า" สัญญายืมใช้คงรูปจึงเป็นสัญญาที่ไม่มีค่าตอบแทนซึ่งมีผลให้ต้องถือเอาตัวผู้ยืมเป็นสาระสำคัญ เราจะให้ผู้ใดยืมทรัพย์สินของเราไปใช้ เราคงจะต้องพิจารณาแล้วว่า คนที่มาขอยืมเป็นคนที่จะใช้ของของเราด้วยความระมัดระวังและเก็บรักษาทรัพย์นั้นอย่างดี มาตรา ๖๔๘ ก็บัญญัติว่า "อันการยืมใช้คงรูป ย่อมระงับสิ้นไปด้วยมรณะแห่งผู้ยืม" เป็นการถือเอาตัวผู้ยืมเป็นสาระสำคัญ ถ้าผู้ยืมตายสัญญายืมระงับ แต่ผู้ให้ยืมตาย สัญญายืมไม่ระงับ ผลอีกประการหนึ่งของสัญญาไม่มีค่าตอบแทน คือ ผู้ให้ยืมไม่ต้องรับผิดในความชำรุดบกพร่องหรือในการรอนสิทธิที่ทำให้ผู้ยืมไม่อาจใช้สอยทรัพย์สินที่ยืมได้ ซึ่งตรงข้ามกับเรื่องเช่าทรัพย์ ถ้าเราให้ใครยืมรถยนต์ของเราไปใช้ เมื่อเราส่งมอบรถยนต์สัญญายืมก็บริบูรณ์ รถยนต์คันนั้นจะเก่าจะชำรุดบกพร่องอย่างไรก็เป็นเรื่องที่ผู้ยืมจะต้องพิจารณา เอาเองว่า สมควรจะยืมรถของเราหรือไม่ เราไม่มีหน้าที่ต้องช่อมรถนั้นให้อยู่ในสภาพที่ใช้งานได้
                         ๓.เป็นสัญญาที่ไม่โอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ยืม มาตรา ๖๔๐ ตอนท้ายใช้คำว่า และผู้ยืมตกลงจะคืนทรัพย์สินนั้น เมื่อได้ใช้สอยเสร็จแล้ว หมายความว่า ถ้ายืมทรัพย์สินสิ่งใดไปก็จะต้องนำทรัพย์สินสิ่งนั้นมาคืน จะนำทรัพย์สินอื่นมาคืนแทนไม่ได้ แสดงว่า กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ยืมมิได้โอนไปยังผู้ยืม ดังนั้น ผู้ให้ยืมไม่จำเป็นจะต้องเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ให้ยืม (ฎีกาที่ ๕๒๖/๒๕๒๙ และ ๑๔๐๗/๒๕๓๘) ถ้ามีภัยพิบัติต่อทรัพย์สินที่ยืมทำให้ทรัพย์สินนั้นสูญหายหรือบุบสลาย โดยมิใช่ความผิดของผู้ยืมแล้ว ผู้ให้ยืมต้องรับผิดชอบในผลนั้นเองตามมาตรา ๒๑๙ วรรคหนึ่ง
                         ๔.เป็นสัญญาที่บริบูรณ์เมื่อส่งมอบทรัพย์สินที่ยืม มาตรา ๖๔๑ บัญญัติว่า การให้ยืมใช้คงรูปนั้น ท่านว่า ย่อมบริบูรณ์ต่อเมื่อส่งมอบทรัพย์สินซึ่งให้ยืม กฎหมายไม่ได้ใช้คำว่า โมฆะ คำว่า ไม่บริบูรณ์ มีความหมายว่า ตราบใดที่ยังไม่มีการส่งมอบทรัพย์ที่ให้ยืม สัญญาไม่เป็นโมฆะ แต่ยังใช้ไม่ได้ ยังไม่เกิดสิทธิหน้าที่ตามสัญญา เมื่อใดก็ตามที่มีการส่งมอบทรัพย์ที่ให้ยืมสัญญาก็จะครบถ้วนบริบูรณ์ คู่สัญญาจึงจะมีสิทธิหน้าที่ตามที่ระบุในสัญญาตามกฎหมาย
                        หน้าที่และความรับผิดของผู้ยืมใช้คงรูป
                         ๑.หน้าที่ของผู้ยืมใช้คงรูป เมื่อผู้ยืมได้รับมอบทรัพย์สินที่ยืมแล้ว ผู้ยืมมีสิทธิที่จะใช้สอยทรัพย์สินนั้นโดยไม่ต้องเสียค่าตอบแทน และมีหน้าที่ ๕ ประการตามที่บัญญัติไว้ใน ปพพ. มาตรา ๖๔๒, ๖๔๓ , ๖๔๔ , ๖๔๖ และ ๖๔๗ คือ 
                           ๑.๑ หน้าที่เสียค่าใช้จ่ายในการทำสัญญา ส่งมอบและส่งคืนทรัพย์สินที่ยืม กฎหมายบัญญัติไว้ในมาตรา ๖๔๒ ว่า ค่าฤชาธรรมเนียมในการทำสัญญาก็ดี ค่าส่งมอบและค่าส่งคืน ทรัพย์สินซึ่งยืมก็ดี ย่อมตกแก่ผู้ยืมเป็นผู้เสีย ค่าฤชาธรรมเนียมในการทำสัญญา คือค่าธรรมเนียมที่จะต้องเสียให้แก่รัฐในการทำสัญญายืม ขณะนี้ไม่ปรากฏว่ายืมอะไรที่จะต้องเสียค่าธรรมเนียม ส่วนค่าส่งมอบ และค่าส่งคืนทรัพย์สินที่ยืมถ้าไม่ตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่นผู้ยืมต้องเป็นผู้เสีย ส่วนปัญหาว่าจะส่งมอบ และส่งคืน ณ สถานที่ใด ถ้าไม่ได้ตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่นต้องเป็นไปตามมาตรา ๓๒๔ คือ ต้องส่งมอบกัน ณ สถานที่ที่ทรัพย์นั้นอยู่ในเวลาเมื่อก่อให้เกิดหนี้นั้น
                           ๑.๒ หน้าที่ต้องใช้ความระมัดระวังในการใช้ทรัพย์สินที่ยืม หน้าที่นี้กฎหมายบัญญัติไว้ในมาตรา ๖๔๓ ว่า "ทรัพย์สินซึ่งยืมนั้น ถ้าผู้ยืมเอาไปใช้การอย่างอื่นนอกจากการอันเป็นปกติแก่ทรัพย์สินนั้น หรือ นอกจากการอันปรากฏในสัญญาก็ดี  เอาไปให้บุคคลภายนอกใช้สอยก็ดี เอาไปไว้นานกว่าที่ควรจะเอาไว้ก็ดี ท่านว่าผู้ยืมจะต้องรับผิดในเหตุทรัพย์สินนั้นสูญหาย หรือ บุบสลาย ไปอย่างหนึ่งอย่างใด แม้ถึงจะเป็นเพราะเหตุสุดวิสัย เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่า ถึงอย่างไรๆ ทรัพย์สินนั้นก็คงจะต้องสูญหายหรือบุบสลายอยู่นั่นเอง"
                          คำว่า ใช้การอย่างอื่นนอกจากการเป็นปกติแก่ทรัพย์สินนั้น คือ ทรัพย์ที่ยืมไปนั้นปกติคนทั่วไปเขาใช้ทำอะไร ผู้ยืมก็ต้องใช้อย่างนั้น เช่น ยืมรถเก๋งไปใช้ ผู้ยืมต้องเอาไปใช้ให้คนนั่ง ไม่ใช่เอาไปใช้บรรทุกของ
                          ส่วนการใช้ นอกจากการอันปราฏในสัญญา เช่น ยืมรถเก๋งที่กรุงเทพ โดยบอกว่าจะไปธุระที่เชียงใหม่ ก็ต้องเป็นไปตามนั้น จะนำไปใช้ในเส้นทางอื่นซึ่งไม่เกี่ยวข้องกันไม่ได้
                          คำว่า เอาไปให้บุคคลภายนอกใช้สอย หมายความว่า ผู้ยืมจะต้องเป็นคนใช้สอยทรัพย์สินที่ยืมเอง การใช้สอยนี้ต้องดูสภาพของทรัพย์ที่ยืมประกอบด้วย เช่น ยืมรถไปใช้เราขับเองหรือใช้คนขับรถที่มีใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถนั้น โดยเราสามารถควบคุมได้ก็ถือว่าเราเป็นคนใช้ทรัพย์นั้น ยืมถ้วยยืมจานไปใช้ในงานทำบุญเลี้ยงพระ แม้ในงานทำบุญนั้นจะมีคนอื่นมาใช้ถ้วยใช้จานนั้นด้วยก็ยังถือว่า เราเป็นคนใช้ทรัพย์นั้น อย่างนี้เป็นต้น
                          ส่วนคำว่า เอาไปไว้นานกว่าที่ควรจะเอาไว้  เป็นเรื่องที่กฎหมายกำหนดหน้าที่ให้ผู้ยืม จะต้องรีบคืนทรัพย์ที่ยืมเมื่อใช้สอยทรัพย์นั้นเสร็จแล้ว หรือเมื่อใช้ครบกำหนดเวลาตามที่ตกลงกันไว้ เช่น ยืมรถมาใช้ ๓ วัน เมื่อครบ ๓ วัน ก็ต้องคืน จะอ้างว่า ยืมมาแล้วยังไม่ได้ใช้ขอเก็บไว้ต่อจนกว่าจะใช้รถคันนั้นครบ ๓ วัน อย่างนี้เป็นการผิดหน้าที่ตามมาตรา ๖๔๓
                          ในกรณีที่ผู้ยืมผิดหน้าที่ดังกล่าวแล้วปรากฏว่าทรัพย์สินที่ยืมสูญหาย หรือบุบสลาย ผู้ยืมจะต้องรับผิดตามมาตรา ๖๔๓ ถ้าผู้ยืมไม่ผิดหน้าที่ผู้ยืมไม่ต้องรับผิด เช่น ยืม โทรทัศน์มาใช้ ๑ สัปดาห์ เมื่อยืมมาได้เพียง ๒ วัน เพื่อนบ้านประมาททำให้เกิดไฟใหม้ ไฟลามมาไหม้บ้านผู้ยืมทำให้โทรทัศน์ที่ยืมถูกไฟไหม้ กรณีนี้ผู้ยืมไม่ต้องรับผิด แต่ถ้าผู้ยืมใช้โทรทัศน์ไป ๑๐ วัน แล้วยังไม่ยอมคืน เกิดไฟใหม้เช่นกรณีแรก ผู้ยืมจะต้องรับผิด เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ตามที่กำหนดไว้ในมาตรา ๖๔๓ ตอนท้าย เช่น พิสูจน์ได้ บ้านต้นเพลิง บ้านผู้ยืม และบ้านผู้ให้ยืม เป็นตึกแถวติดกันถูกไฟใหม้หมดทั้ง ๓ คูหา อย่างนี้ ผู้ยืมไม่ต้องรับผิด
                          หน้าที่สงวนทรัพย์สินที่ยืม กรณีเป็นหน้าที่ตามมาตรา ๖๔๔ ซึ่งบัญญัติว่า ผู้ยืมจำต้องสงวนทรัพย์สินซึ่งยืมไปเหมือนเช่นวิญญูชนจะพึงสงวนทรัพย์สินของตนเอง" เช่น ตามปกติเราชอบเอาโน๊ตบุ้คมาใช้ที่ระเบียง ใช้เสร็จก็วางไว้ตรงนั้นเพราะเป็นคอนโดมิเนียม คนมาลักไปไม่ได้ แต่ตรงนั้นมันไม่กันแดดกันฝนร้อยเปอร์เซ็นต์คนธรรมดาทั่วๆ ไป เขาจะเก็บโน๊ตบุ้คไว้ในที่ไม่ร้อนจัด แห้งและไม่ถูกละอองน้ำ เรายืม โน๊ตบุ๊คคนอื่นมาใช้ เราก็ต้องนำมาเก็บไว้ในห้อง จะวางไว้ที่ระเบียงเหมือนของเราเองไม่ได้ ปัญหาว่าขนาดไหนเป็นการสงวนทรัพย์สินอย่างวิญญูชนนั้น ไม่มีหลักเกณฑ์ที่แน่ชัด ต้องดูพฤติการณ์เป็นกรณีไปว่า  กรณีเช่นนั้นคนธรรมดาทั่วๆ ไป ในภาวะเช่นนั้นเขาปฏิบัติอย่างไร
                       ๑.๔ หน้าที่คืนทรัพย์สินที่ยืม หน้าที่นี้ กฎหมายบัญญัติไว้ในมาตรา ๖๔๐ ตอนท้ายว่า ผู้ยืมตกลงว่าจะคืนทรัพย์สินนั้น เมื่อได้ใช้สอยเสร็จแล้ว และมาตรา ๖๔๖ บัญญัติว่า ถ้ามิได้กำหนดเวลาไว้ ท่านให้คืนทรัพย์สินที่ยืม เมื่อผู้ยืมได้ใช้สอยทรัพย์สินนั้นเสร็จแล้ว ตามการอันปรากฏในสัญญา แต่ผู้ให้ยืมจะเรียกคืนก่อนนั้นก็ได้ เมื่อเวลาได้ล่วงไปพอแก่การที่ผู้ยืมจะได้ใช้สอยทรัพย์สินนั้นเสร็จแล้ว
                       ถ้าเวลาก็มิได้กำหนดกันไว้ ทั้งในสัญญาก็ไม่ปรากฏว่ายืมไปใช้เพื่อการใดไซร์ ท่านว่าผู้ยืมจะเรียกของคืนเมื่อไหร่ก็ได้
                       มาตรา ๖๔๖ บัญญัติหน้าที่ผู้ยืมไว้  ถ้าการยืมมีกำหนดเวลา เมื่อถึงเวลาก็ต้องคืน แต่ถ้ายืมไม่มีกำหนดเวลา ก็ต้องดูว่า ยืมทรัพย์สินไปใช้สอยเพื่อการอันใด เมื่อทำการอันนั้นเสร็จแล้ว ก็ต้องคืนทรัพย์สินนั้น แต่ถ้าในสัญญาไม่มีหนดเวลาส่งคืน และ  ก็ไม่ได้ระบุว่า ยืมไปใช้ในการอันใด มาตรา ๖๔๖ วรรคสอง บัญญัติว่า ผู้ให้ยืมจะเรียกของคืนเมื่อไรก็ได้ คือ เรียกคืนได้ทันที ส่วนจะคืนที่ไหนต้องเป็นไปตามมาตรา ๓๒๔ คือ ถ้าไม่ได้ตกลงกันไว้ ก็ต้องคืน ณ สถานที่ซึ่งทรัพย์สินนั้นตั้งอยู่ในเวลาก่อหนี้ ค่าใช้จ่ายในการคืน เป็นไปตามมาตรา ๖๔๒ คือผู้ยืมเป็นผู้เสีย ไม่นำมาตรา ๓๒๕ ซึ่งเป็นบทบัญญัติทั่วไปมาใช้บังคับ 
                      ๑.๕ หน้าที่เสียค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาทรัพย์สินที่ยืม มาตรา ๖๔๗ วางหลักว่า ค่าใช้จ่ายอันเป็นปกติแก่การบำรุงรักษาทรัพย์สินซึ่งยืมนั้นผู้ยืมต้องเป็นผู้เสีย  เช่น ยืมรถไปใช้ผู้ยืมต้องบำรุงรักษารถนั้นให้อยู่ในสภาพดี ต้องตรวจและเติมน้ำ น้ำกลั่น น้ำมันเครื่อง และลมยาง ค่าใช้จ่ายแบบนี้ ถ้าไม่ได้ตกลงกันไว้ในสัญญาเป็นอย่างอื่นแล้ว ผู้ยืมจะต้องเป็นผู้เสีย และจะเรียกคืนจากผู้ให้ยืมไม่ได้ 
                      ส่วนการซ่อมแซม ใหญ่ ก็เช่นกัน  ต้องตกลงกันไว้ในสัญญาว่า ใครจะเป็นคนออกค่าใช้จ่าย  ถ้าไม่ต้องตกลงกันไว้ แต่ผู้ยืม ไปทำการซ่อมแซมใหญ่โดยพลการ ก็จะเรียกค่าซ่อมจากผู้ให้ยืมไม่ได้
                     ๒.ความรับผิดของผู้ยืมใช้คงรูป  ในกรณีที่ทรัพย์สินที่ยืมสูญหาย หรือบุบสลาย ปัญหาว่า ผู้ยืมจะต้องรับผิดต่อผู้ให้ยืม และ  กรณีที่บุคคลภายนอก ทำละเมิดเป็นเหตุ ให้ทรัพย์สินที่ยืมเสียหาย ผู้ยืมจะฟ้องผู้ทำละเมิด ได้หรือไม่
                        ๒.๑  ผู้ยืมต้องรับผิดต่อผู้ให้ยืมเมื่อผิดหน้าที่  ตามที่บัญญัติไว้ใน ปพพ. มาตรา ๖๔๓ วางหลักว่า ผู้ยืมจะต้องรับผิดในการที่ทรัพย์สินสูญหาย หรือบุบสลาย เมื่อ ผู้ยืม ทำผิดหน้าที่  คือ ผู้ยืมเอาทรัพย์สินที่ยืมไปใช้ในการอย่างอื่นนอกจากการอันเป็นปกติแก่ทรัพย์สินนั้น   หรือนอกจากการอันปรากฏในสัญญา หรือ เอาไปให้บุคคลภายนอกใช้ หรือเอาทรัพย์สินที่ยืมไปไว้นานกว่าที่ควรจะเอาไว้ ซึ่งแม้จะการสูญหาย หรือ บุบสลาย จะเป็นเพราะเหตุสุดวิสัย ก็ต้องรับผิด เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่า ถึงจะอย่างไร แม้ผู้ยืมจะไม่ได้ทำผิดหน้าที่ ทรัพย์สินนั้น ก็ต้องสูญหาย หรือ บุบสลาย อยู่นั่นเอง นอกจากนี้ยังมีหน้าที่ ในมาตรา ๖๔๔ คือ หน้าที่ต้องสงวนทรัพย์สินที่ยืมเหมือนเช่นวิญญูชนจะพึงสงวนทรัพย์สินของตนเอง ดังนั้นเมื่อเกิดความเสียหาย ก็ต้องปรากฏว่า ผู้ยืมทำผิดหน้าที่ ตามสัญญา และตามกฎหมาย ดังกล่าว จึงจะต้องรับผิด ถ้าไม่ได้ทำผิดหน้าที่ แม้เกิดความเสียหาย ผู้ยืมไม่ต้องรับผิด (ฎีกาที่ ๕๓๔/๒๕๐๖ และ ๗๔๑๖/๒๕๔๘)
                        ๒.๒ ผู้ยืมฟ้องผู้ทำละเมิดทำให้ทรัพย์สินที่ยืมเสียหายได้หรือไม่ ผู้ยืมมีสิทธิที่จะฟ้องร้องผู้ทำละเมิด ทำให้ทรัพย์สินซึ่งยืม สูญหาย หรือบุบสลาย ได้ เฉพาะ ในกรณีที่ผู้ยืม มีความรับผิดต่อผู้ให้ยืมเท่านั้น ถ้าผู้ยืมไม่ผิดหน้าที่ ก็ไม่มีความรับผิด ต่อผู้ให้ยืม เมื่อมีบุคคลภายนอกมาทำละเมิดแก่ทรัพย์สินที่ยืมไป แม้ผู้ยืมจะเสียค่าใช้จ่ายในการซ่อมทรัพย์ที่ยืมให้กลับสู่สภาพเดิม ผู้ยืมก็ไม่มีสิทธิเรียกร้องให้ผู้ทำละเมิดใช้ค่าเสียหาย  เป็นเรื่องที่ผู้ให้ยืม จะไปว่ากล่าวโดยใช้สิทธิของตนเอง 
                         คำพิพากษาฎีกาที่ ๖๖๘๓/๒๕๓๗ โจทก์ยืมรถยนต์ผู้อื่นมาใช้แล้วถูกจำเลยทำละเมิดขับรถยนต์มาชนท้ายรถคันที่โจทก์ยืมเสียหาย แม้ มาตรา ๖๔๗ จะบัญญัติว่าค่าใช้จ่ายอันเป็นปกติ และการบำรุงรักษาทรัพย์สินที่ยืมนั้น ผู้ยืมต้องเป็นผู้เสีย ก็มีความหมายเพียงว่า ผู้ยืมต้องเป็นผู้เสียค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาทรัพย์สินที่ยืมอันเป็นปกติของการใช้ทรัพย์สินที่ยืมเท่านั้น มิใช่กรณีอันเกิดจากการถูกกระทำละเมิด ซึ่งเป็นเหตุอันผิดปกติที่มีมาตรา ๔๒๐ และ ๔๓๘ วรรคสอง บัญญัติให้ผู้ทำละเมิดต้องรับผิดไว้แล้ว โจทก์ จึงไม่มีหน้าที่ต้องซ่อมรถยนต์คันที่จำเลยทำให้เสียหาย โจทก์มิใช่ผู้ได้รับความเสียหายจากการกระทำละเมิด จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลย
                         คำพิพากษาฎีกาที่ ๒๗๖๖/๒๕๕๑ มาตรา ๖๔๓ บัญญัติให้ผู้ยืมใช้คงรูปต้องรับผิดต่อผู้ให้ยืมเฉพาะกรณี ผู้ยืมเอาทรัพย์สินที่ยืมไปใช้ในการอย่างอื่นนอกจากการอันเป็นปกติของทรัพย์สินนั้น หรือนอกจากการอันปรากฏในสัญญา หรือเอาไปใ้บุคคลภายนอกใช้สอย หรือ เอาไว้นานกว่าที่ควรจะเอาไว้ แต่โจทก์ยืนยันในคำฟ้องว่าเหตุละเมิด ที่เกิดขึ้น เป็นความผิดของจำเลยที่ ๒ ซึ่งเป็นบุคคลภายนอก ดังนี้ โจทก์ ในฐานะผู้ยืมจึงไม่ต้องรับผิดต่อเจ้าของทรัพย์ แม้โจทก์จะได้ซ่อมรถยนต์คันที่โจทก์ยืมมาเรียบร้อยแล้ว โจทก์ก็ไม่อยู่ในฐานะที่จะรับช่วงสิทธิของเจ้าของทรัพย์ที่จะเรียกร้องให้จำเลยที่ ๒ และที่ ๓ รับผิดได้ เพราะการรับช่วงสิทธิ จะมีได้ต่อเมื่อผู้รับช่วงสิทธิมีหนี้อันจะต้องรับผิดต่อเจ้าหนี้ คือ เจ้าของรถ เมื่อโจทก์ไม่ใช่ผู้รับช่วงสิทธิ จึงไม่มีอำนาจฟ้อง (วินิจฉัยตามคำพิพากษาฎีกาที่ ๓๔๕๑/๒๕๒๔)
                        
                         ความระงับของสัญญายืมใช้คงรูป
                         1.สัญญาระงับเพราะผู้ยืมตาย มาตรา ๖๔๘ วางหลักว่า  อันการยืมใช้คงรูป ย่อมระงับสิ้นไปด้วยมรณะแห่งผู้ยืม  ดังนั้น เฉพาะผู้ยืมตายเท่านั้น ที่เป็นเหตุให้สัญญาระงับ ถ้าผู้ให้ยืมตายสัญญายืมใช้คงรูปไม่ระงับ
                         คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 338/2479  จำเลยยืมเรือของนาย ก. ไปใช้โดยมีข้อตกลง ว่ายืมกันตลอดอายุของจำเลย เมื่อผู้ให้ยืมตาย ผู้รับมรดกยังไม่มีสิทธิฟ้องเรียกทรัพย์ที่ให้ยืมคืน เพราะมาตรา ๖๔๘ แสดงให้เห็นว่า กฎหมายมิได้ประสงค์ให้ถือเอาความมรณะของผู้ให้ยืมเป็นเหตุให้สัญญาระงับ
                         2.สัญญาระงับเพราะเหตุอื่น ตามหลักทั่วไปของสัญญา ยืม คือ ๑.เมื่อส่งคืนทรัพย์สินที่ยืม  ๒.เมื่อทรัพย์ที่ยืมสูญหายหรือบุบสลายจนหมดสิ้นไป   ๓. เมื่อมีการบอกเลิกสัญญา ตามมาตรา ๖๔๕ ซึ่งเป็นกรณีที่ผู้ยืมปฏิบัติผิดหน้าที่ตามมาตรา ๖๔๓ หรือมาตรา ๖๔๔ เช่นใช้สอยทรัพย์สินไม่ถูกต้องตามสัญญา หรือ ไม่สงวนรักษาทรัพย์สินที่ยืม ผู้ให้ยืมจะบอกเลิกสัญญาเสียก็ได้  ส่วนการเลิกสัญญาจะต้องทำอย่างไร และจะมีผลเป็นอย่างไร  ต้องเป็นไปตาม ปพพ. บรรพ ๑ และ บรรพ ๒
                         อายุความ
                           ๑.อายุความเรียกค่าทดแทน มาตรา ๖๔๙ บัญญัติว่า ในข้อความรับผิดเพื่อเสียค่าทดแทนอันเกี่ยวกับการยืมใช้คงรูปนั้น ท่านห้ามมิให้ฟ้องเมื่อพ้นเวลา หกเดือนนับแต่วันสิ้นสัญญา  อายุความในมาตรานี้ ใช้เฉพาะกรณีผู้ยืม  ปฏิบัติผิดหน้าที่ ผิดสัญญา ตามมาตรา ๖๔๓ มาตรา ๖๔๔ และมาตรา ๖๔๗ จนทำให้เกิดความเสียหาย  ถ้าการผิดหน้าที่ดังกล่าวเลยไปถึงขั้นละเมิด ก็ต้องนำอายุความเรื่องละเมิดมาใช้บังคับเมื่อมีการฟ้องให้รับผิดฐานละเมิด
                           ๒.อายุความเรียกทรัพย์สินที่ยืม  การฟ้องเรียกคืนทรัพย์สินที่ยืม หรือ ให้ใช้ราคาทรัพย์สินที่ยืม ผู้ให้ยืมมีสิทธิฟ้องภายใน อายุความ ๑๐ ปี ตาม ปพพ. มาตรา ๑๙๓/๓๐
                           คำพิพากษาฎีกาที่ ๒๕๘๙/๒๕๒๖ อายุความตามมาตรา ๖๔๙ เป็นกรณีฟ้องให้รับผิดเพื่อเสียค่าทดแทนอันเกี่ยวกับการยืมใช้คงรูป เช่น ค่าเสียหายเกี่ยวกับการชำรุดหรือเสื่อมราคาเนื่องจากการใช้สอยทรัพย์สินที่ยืม ในกรณีฟ้องเรียกคืน หรือ ใช้ราคาทรัพย์สินที่ยืมไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้ จึงต้องปรับด้วยมาตรา ๑๖๔(ปัจจุบัน เป็นมาตรา ๑๙๓/๓๐)  คืออายุความ ๑๐ ปี
                           คำพิพากษาฎีกาที่ ๕๖๖/๒๕๓๖ ตามคำฟ้องโจทก์เป็นการฟ้องเรียกคืนลังไม้หรือราคาลังไม้ซึ่งจำเลยที่ ๑ ยืมไปพร้อมผลิตภัณฑ์ขวดแล้ว ซึ่งโจทก์ขายให้จำเลยที่ ๑ ตามสัญญาซื้อขาย และจำเลยที่ ๑ ปฏิบัติกับโจทก์ตลอดมาตั้งแต่มีการซื้อขายกัน จึงนำมาตรา ๖๔๙ มาบังคับไม่ได้ ต้องใช้อายุความ ๑๐ ปี ตามมาตรา ๑๖๔(ปัจจุบันเป็น มาตรา ๑๙๓/๓๐)
                           นอกจากเจ้าของทรัพย์สินที่ยืม จะใช้สิทธิ ในอายุความทั่วไปในฐานะเป็นคู่สัญญา แล้ว เมื่อสัญญาระงับ เจ้าของทรัพย์สินยังสามารถใช้สิทธิ ตาม ปพพ.มาตา ๑๓๓๖ ในฐานะที่เป็นเจ้าของทรัพย์สิน ติดตามเอาทรัพย์คืน จากผู้ยืมที่ไม่มีสิทธิยึดถือไว้ โดยไม่มีกำหนดอายุความ เว้นแต่ ผู้ยืมที่ยึดถือทรัพย์สินไว้ จะได้สิทธิโดยการครอบครองปรปักษ์ ซึ่งจะเป็นเหตุให้เจ้าของทรัพย์สิน ไม่สามารถเรียกทรัพย์สินคืนจากผู้ยืมได้ ดังนั้นเมื่อสัญญาระงับแล้ว ไม่ว่าด้วยเหตุใด เจ้าของทรัพย์ที่ให้ยืม ต้องเร่งขวนขวายรักษาสิทธิของตนเอง เพราะ  ถ้าเป็นการยืมทรัพย์สิน ที่เป็นสังหาริมทรัพย์ เช่น รถ สิ่งของ อุปกรณ์ ต่างๆ ผู้ยืมจะเป็นผู้ครอบครองทรัพย์สินที่ยืม หากมีเหตุให้สัญญาระงับ แล้ว ผู้ยืมไม่ส่งคืน ผู้ให้ยืมทักท้วงแล้ว ก็ไม่คืน เท่ากับ ผู้ยืมได้เปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือ เป็นยึดถือเพื่อตน เมื่อครอบครอง โดยสงบ เปิดเผย เจตนาเป็นเจ้าของ ครบ ๕ ปี จะได้กรรมสิทธิโดยการครอบครองปรปักษ์ตาม ปพพ.๑๓๘๒ ทางแก้ของผู้ให้ยืม คือ แจ้งความร้องทุกข์ เป็นคดีอาญา ในข้อหา ยักยอกทรัพย์ ได้ ในทางแพ่ง ก็ฟ้องเรียกคืนทรัพย์สิน โดยต้องดำเนินการภายในกำหนดอายุความตามกฎหมาย                        

                                                          
                                                        ปรึกษาทนายความ แอดไลน์
                                                                      

                        
                        

วันอังคารที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2563

การถูกกำจัดมิให้รับมรดก กรรมของคนโลภ

         การถูกกำจัดมิให้รับมรดก
การถูกกำจัดมิให้รับมรดกเป็นผลจากบทบัญญัติของกฎหมายที่ทำให้ทายาทเสียสิทธิในมรดก การถูกกำจัดมิให้รับมรดกมีอยู่ 2 กรณี คือ
        1.การถูกกำจัดมิให้รับมรดกฐานยักย้ายหรือ ปิดบังทรัพย์มรดก
        2.การถูกกำจัดมิให้รับมรดกฐานเป็นผู้ไม่สมควร
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1605 บัญญัติว่า ทายาท
         การถูกกำจัดมิให้รับมรดกฐานยักย้ายหรือปิดบังทรัพย์มรดก

การเสียไปซึ่งสิทธิในมรดกทายาทถูกกำจัดฐานยักย้ายหรือปิดบังทรัพย์มรดกนั้น เป็นบทบัญญัติของกฎหมายที่บัญญัติว่า เมื่อเจ้ามรดกตายแล้วทายาทได้ไปยักย้ายปิดบังทรัพย์มรดกโดยทายาทคนอื่นเสื่อมเสียประโยชน์ทายาทผู้นั้นถูกกำจัดมิให้รับมรดกซึ่งการถูกกำจัดมิให้รับมรดกนี้เป็นการถูกกำจัดหลังเจ้ามรดกตาย 

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1605 บัญญัติว่า ทายาทคนใดยักย้ายหรือปิดบังทรัพย์มรดกเท่าส่วนที่ตนจะได้หรือมากกว่านั้น โดยฉ้อฉลหรือรู้อยู่ว่าตนทำให้เสื่อมประโยชน์ของทายาทคนอื่น ทายาทคนนั้นต้องถูกกำจัดมิให้ได้มรดกเลยแต่ถ้าได้ยักย้ายหรือปิดบังทรัพย์มรดกน้อยกว่าส่วนที่ตนจะได้ทายาทคนนั้นต้องถูกกำจัดมิให้ได้มรดกเฉพาะส่วนที่ได้ยักย้ายหรือปิดบังไว้นั้น

มาตรานี้มิให้ใช้บังคับแก่ผู้รับพินัยกรรมซึ่งผู้ตายได้ทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินให้เฉพาะสิ่งเฉพาะอย่างในอันที่จะได้รับทรัพย์สินนั้น

ทายาทในมาตรานี้หมายถึง ทายาทโดยธรรมและผู้รับพินัยกรรมลักษณะทั่วไปตามมาตรา 1605 วรรค 2 ยกเว้นไม่ให้ใช้บังคับเฉพาะผู้รับพินัยกรรมเฉพาะสิ่งเฉพาะอย่าง

คำว่ายักย้ายหมายถึงการเปลี่ยนที่เสียหรือนำไปไว้ที่อื่นจึงแสดงว่าทรัพย์มรดกที่ย้ายนั้นต้องเป็นสังหาริมทรัพย์และมีตัวทรัพย์อยู่ถ้าเป็นการทำลายเพื่อไม่ให้ทายาทอื่นได้รับมรดกนั้นไม่เป็นการยักย้ายและไม่ถูกกำจัดมิให้รับมรดกตามมาตรา 1605

การยักย้ายหรือปิดบังทรัพย์มรดกในที่นี้จะต้องเป็นไปโดยฉ้อฉลหรือโดยรู้อยู่ว่าตนทำให้เสื่อมเสียประโยชน์ของทายาทคนอื่นจึงจะถูกกำจัดมิให้รับมรดก คำว่าโดยฉ้อฉลหมายถึงทำให้ผู้อื่นเสียเปรียบโดยใช้อุบาย คำว่าโดยรู้อยู่ว่าตนทำให้เสื่อมประโยชน์ของทายาทคนอื่นหมายถึงการกระทำนั้นทำให้เสื่อมประโยชน์ของทายาทคนอื่นและผู้ทำต้องรู้ถึงการที่ทำให้ผู้อื่นเสื่อมประโยชน์ด้วย

การทำให้เกิดประโยชน์นั้นให้ดูว่าถ้าได้ทรัพย์มรดกคืนจะเป็นการเสื่อมประโยชน์คนอื่นหรือไม่ ถ้าได้คืนด้วยความยากลำบากก็ถือว่าเสื่อมประโยชน์และกรณีที่มีการฟ้องร้องจึงได้คืนมาถือว่าเป็นการกระทำให้เกิดความยากลำบากทำให้เสื่อมประโยชน์ของทายาทคนอื่นซึ่งถูกกำจัด

ตัวอย่างเมื่อบิดาตายน้องทำงานที่กรุงเทพฯ น้องกลับมาบ้านพบพระพุทธรูปหายไปเลยบอกพี่ชายว่าพระพุทธรูปหายไปไหนพี่เอาไปก็เอากลับมาคืนเสีย พี่ชายบอกไม่รู้น้องบอกว่าจะมาดูอีกทีหลังจากงานศพบิดาเมื่อน้องกลับมาพระพุทธรูปกลับมาตั้งที่เดิมทั้งนี้ไม่ถือว่าพี่ชายถูกกำจัดไม่ให้รับมรดกเพราะน้องชายได้ของคืนมาโดยไม่ได้มีความยากลำบากจึงไม่ถือว่าทำให้เสื่อมประโยชน์แก่ทายาทคนอื่น

คำว่าปิดบังตาม  พจนานุกรมแปลว่าติดไว้กำบังไว้ หมายถึงไม่ยอมบอกใครเกี่ยวกับมรดกดังนั้นการปิดบังทรัพย์มรดกจึงมีได้ทั้งในอสังหาริมทรัพย์และสังหาริมทรัพย์และตัวทรัพย์นั้น ต้องยังอยู่เหมือนเดิม

การที่จะพิจารณาได้ว่าการยักย้ายหรือปิดบังทรัพย์มรดกถึงขนาดไหนจึงถูกกำจัดมิให้รับมรดกตามมาตรา 105 นั้นต้องพิจารณาเป็นเรื่องๆไปโดยคำนึงถึงการกระทำโดยเจตนาของผู้กระทำและผลของการกระทำนี้ว่ามีเจตนาทำให้เสื่อมประโยชน์แก่ทายาทคนอื่น

คำพิพากษาฎีกาที่ 716 /2485 ได้เคยมีการแบ่งปันทรัพย์มรดกกันมาแล้วแต่โจทก์ไม่ได้นำทรัพย์พิพาทมาแบ่งด้วย แม้โจทก์จะรับว่าไม่มีฝ่ายใดมาเรียกร้องและโจทก์ปกครองเพื่อทายาทก็ตามกรณีเช่นนี้ต้องถือว่าโจทก์แกล้งปิดบังทรัพย์มรดกไว้เพื่อตน โจทก์ถูกกำจัดมิให้รับมรดก

คำพิพากษาฎีกาที่ 2062/2492 ทายาทคนหนึ่งบอกแก่ทายาทอีกคนหนึ่งว่าที่ดินแปลงหนึ่งผู้ตายได้โอนไปแล้วความจริงผู้ตายไม่ได้โอนแต่ทายาทคนนั้นโอนเป็นของตนเองเสียเช่นนี้ถือเป็นการปิดบังมรดก ย่อมถูกกำจัดมิให้รับมรดกในที่ดินแปลงนั้น

  คำพิพากษาฎีกาที่ 1160/2497 ทายาทรับโอนโฉนดที่ดินมรดกมาโดยสุจริตว่าตนควรได้เป็นเจ้าของไม่มีเจตนาปิดบังยักยอกมรดก แม้จะเกินส่วนที่ทนได้ก็ไม่ถูกกำจัดไม่ให้รับมรดก

คำพิพากษาฎีกาที่ 478 /2501 ทายาทโอนรับมรดกที่ดินโดยสุจริต แม้ความจริงจะไม่มีสิทธิก็ไม่ใช่ยักย้ายหรือฟังมรดกไม่ถูกกำจัด

คำพิพากษาฎีกาที่ 1239/2506 ทายาทที่ถูกกำจัดมิให้รับมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1605 ต้องเป็นผู้ปิดบังหรือยักย้ายทรัพย์มรดกแต่การที่ทายาทคนหนึ่งไปขอประกาศรับมรดกโดยไม่ระบุลงในบัญชีเครือญาติว่ายังมีบุคคลอื่นเป็นทายาทอีกด้วยนั้นไม่ใช่เป็นการยักย้ายหรือปิดบังทรัพย์มรดก

คำพิพากษาฎีกาที่ 424/ 2526 จำเลยที่ 1 เคยทวงถามเงินกู้จากผู้กู้หลังจากเจ้ามรดกตายโดยยอมลดจำนวนเงินกู้ให้ หรือให้ผู้กู้ เปลี่ยนเป็นกู้จำเลยที่ 1 แทนแต่ผู้กู้ไม่ยอมและเมื่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกขอให้ส่งมอบสัญญากู้เงินดังกล่าวให้จำเลยที่ 1 บิดพริ้วโดยขอหักเป็นค่าทำศพเจ้ามรดกรูปเรื่องน่าจะเป็นเพราะจำเลยที่ 1 ในฐานะทายาทเข้าใจว่า ต้นมีสิทธิจะทำได้และเป็นการใช้สิทธิขอหักกลบลบหนี้ ไม่พอฟังว่าปิดบังหรือยักย้ายทรัพย์มรดก

คำพิพากษาฎีกาที่433/2528 โจทก์ทั้งสามกับจำเลยทั้งสาม และ น หับ ส ต่างเป็นทายาทของเจ้ามรดกจำเลยทั้งสามไป

ขอรับมรดกที่ดินพิพาทโดยระบุบัญชีเครือญาติของเจ้ามรดกว่ามีเฉพาะจำเลยทั้งสามกับ น. และ ส.โดยไม่ระบุโจรทั้ง 3 ด้วยดังนี้ยังถือไม่ได้ว่าเป็นเรื่องปิดบังทรัพย์มรดกอันเป็นเหตุให้จำเลยทั้งสามถูกกำจัดมิให้รับมรดกตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1605

คำพิพากษาฎีกาที่ 3349 / 2529 จำเลยซึ่งเป็นทายาทได้ขอเพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่มีชื่อเจ้ามรดกโดยอ้างต่อเจ้าพนักงานว่าจำเลยมีสิทธิในที่ดินนั้นและหนังสือรับรองการทำประโยชน์ออกทับที่ดินของบุคคลอื่นดังนี้ถือไม่ได้ว่าจำเลย ยักย้ายหรือปิดบังทรัพย์มรดก เพราะแม้ไม่มีจำเลยหรือผู้ใดร้องขอให้เพิกถอน ทางราชการก็ต้องเพิกถอน ทั้งนี้เนื่องจากหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่ดินพิพาทออกทับที่ของบุคคลอื่นจึงไม่ถือว่าจำเลย กระทำการโดยฉ้อฉลอันเป็นการยักย้ายหรือปิดบังทรัพย์มรดก

  คำพิพากษาฎีกาที่ 1 3 5 7 /2534 การที่ทายาทโดยธรรมเบิกความในคดีที่ขอให้ศาลมีคำสั่งตั้งตนเป็นผู้จัดการมรดกว่าเจ้ามรดกมีทรัพย์มรดกเพียงเท่าที่เบิกความถึงแต่ความจริงเจ้ามรดกมีทรัพย์มรดกมากกว่านั้นยังไม่พอฟังว่าเป็นการปิดบังทรัพย์มรดก

  คำพิพากษาฎีกาที่ 595/2535 จำเลยและทายาททุกคนทราบดีว่าที่ดินพิพาทเป็นของเจ้ามรดก ตามคำพิพากษาตามยอมที่ตกลงแบ่งที่ดินพิพาทให้เจ้ามรดกในคดีที่เจ้ามรดกฟ้องโจทก์ทั้งสี่เป็นจำเลยขอถอนคืนการให้ เจ้ามรดกได้ดำเนินการแบ่งแยกที่ดินไว้ยังไม่เสร็จก็ถึงแก่กรรมไม่มีทายาทเข้าดำเนินการต่อ การที่โจทก์ทั้งสี่ซึ่งเป็นทายาทได้ยื่นคำขอต่อเจ้าพนักงานที่ดินขอยกเลิกคำขอแบ่งแยกที่ดินพิพาทไม่มีผลเปลี่ยนแปลงกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทซึ่งเป็นมรดกจึงหาใช่การยักย้ายหรือปิดบังทรัพย์มรดกโดยฉ้อฉลไม่และเมื่อจำเลยร้องขอเข้าเป็นผู้จัดการมรดกและศาลมีคำสั่งตั้งให้จำเลยเป็นผู้จัดการมรดกเพื่อดำเนินการเกี่ยวกับที่ดินพิพาทของเจ้ามรดกแล้ว จำเลยได้ขอเข้ารับมรดกความและบังคับคดีจนดำเนินการเปลี่ยนชื่อในโฉนดที่ดินพิพาทเป็นชื่อจำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกเช่นนี้แม้โจทก์ทั้งสี่เคยคัดค้านต่อศาลในชั้นบังคับคดีอ้างว่าจำเลยขอบังคับคดีเกินกำหนดอายุความแล้วก็เป็นการที่โจทก์ทั้งสี่ใช้สิทธิทางศาลตามที่ตนเป็นทายาทโดยชอบ หาใช่ยักย้ายหรือปิดบังทรัพย์มรดกโดยฉ้อฉลไม่เช่นเดียวกันจึงไม่เป็นเหตุให้โจทก์ทั้งสี่ถูกกำจัดมิให้รับมรดก


                              Add Friend


         



วันอาทิตย์ที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2563

ภารจำยอม ทางเลือกสำหรับคนที่ต้องการทางออก

ภารจำยอม 
     การอยู่ร่วมกันในสังคม ต้องเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ถ้อยทีถ้อยอาศัย น้ำพึ่งเรือ เสือพึ่งป่า สังคมจึงจะอยู่อย่างปกติสุข บ้านใกล้กัน ที่ดินติดกัน หากปรับความเข้าใจ โอนอ่อนผ่อนปรนซึ่งกันและกัน ก็จะได้ประโยชน์ทั้งสองฝ่าย แต่ถ้าไม่ยอมกัน จะเอาแบบนี้แบบนั้น ปัญหาเกิดทันที ตื่นเช้าขึ้นมาหันหน้าไปทางข้างบ้านแทนที่จะยิ้มได้ ก็กลายเป็นเครียดแทน หลักกฎหมายเรื่องภารจำยอม น่าจะเป็นทางออกสำหรับใครหลายคน ที่กำลังประสบปัญหา
           ภารจำยอม คือ ทรัพยสิทธิชนิดหนึ่งที่ตัดทอนอำนาจกรรมสิทธิ์โดยทำให้เจ้าของอสังหาริมทรัพย์อันหนึ่งเรียกว่า ภารยทรัพย์ ต้องรับกรรมบางอย่างซึ่งกระทบกระเทือนทรัพย์สินของตน หรือทำให้เจ้าของอสังหาริมทรัพย์ต้องงดเว้นการใช้สิทธิบางอย่างเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินนั้นเพื่อประโยชน์ของอสังหาริมทรัพย์อื่นที่เรียกว่า สามยทรัพย์ เช่น การที่เจ้าของที่ดินแปลง ก. มีสิทธิเดินผ่านที่ดินแปลง ข. หรือมีสิทธิวางท่อน้ำผ่านที่ดินแปลง ข. หรือมีสิทธิเข้าไปตักน้ำในที่ดินแปลง ข. หรือมีสิทธิใช้ลานดินในที่ดินแปลง ข. กองข้าวเปลือก หรือมีสิทธิปลูกโรงเรียนรุกล้ำเข้าไปในที่ดินแปลง ข. เป็นต้น ดังนี้ถือว่าเจ้าของที่ดินแปลง ก.มีภารจำยอมเหนือที่ดินแปลง ข. ที่ดินแปลง ก. เรียกว่า สามยทรัพย์ ที่ดินแปลง ข.เรียกว่า ภารยทรัพย์
           ภารจำยอม   มีบัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๓๘๗ ดังนี้
           "อสังหาริมทรัพย์อาจต้องอยู่ในภารจำยอมอันเป็นเหตุให้เจ้าของต้องยอมรับกรรมบางอย่าง ซึ่งกระทบถึงทรัพย์สินของตน หรือ ต้องงดเว้นการใช้สิทธิบางอย่างอันมีอยู่ในกรรมสิทธิ์ทรัพย์สินนั้น เพื่อประโยชน์แก่อสังหาริมทรัพย์อื่น
             มาตรา ๑๓๘๗ นี้ ภารจำยอมจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อ ประกอบด้วยหลักเกณฑ์ ดังนี้
             ๑.มีอสังริมทรัพย์สองอสังหาริมทรัพย์ด้วยกัน (คำพิพากษาฎีกาที่ ๔๐๑๓/๒๕๔๐ ภารจำยอมเหนือที่ดินแปลงหนึ่งจะเกิดขึ้นได้ก็ เพื่อประโยชน์แก่ที่ดินแปลงอื่นเท่านั้น) และอสังหาริมทรัพย์นั้นไม่จำเป็นต้องเป็นที่ดินเสมอไป อสังหาริมทรัพย์อื่นเช่น บ้านเรือนก็อาจก่อให้เกิดภารจำยอม หรืออยู่ใต้ภารจำยอมได้ และอสังหาริมทรัพย์ทั้งสองนี้ไม่จำเป็นต้องอยู่ติดต่อกันด้วย (คำพิพากษาฎีกาที่ ๘๙๘/๒๕๑๐) แม้มีคลองสาธารณะคั่นอยู่ก็อาจเป็นทางภารจำยอมได้ (คำพิพากษาฎีกาที่ ๑๐๐๔/๒๕๓๖)
             แต่คำพิพากษาฎีกาที่ ๒๖๙/๒๕๓๙ วินิจฉัยว่า การใช้ทางในที่ดินของบุคคลหนึ่งจะตกเป็นภารจำยอมโดยอายุความก็ต้องเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินของบุคคลอื่นเท่านั้น ไม่ใช่เพื่อประโยชน์แก่ตัวบ้านซึ่งเจ้าของบ้านอาศัยสิทธิปลูกอยู่บนที่ดินของบุคคลดังกล่าว เจ้าของบ้านจึงไม่อาจอ้างการได้สิทธิทางภารจำยอมโดยอายุความได้
             ๒.อสังหาริมทรัพย์ทั้งสองอสังหาริมทรัพย์จะต้องเป็นของเจ้าของต่างคนกัน ถ้าเป็นของเจ้าของเดียวกันไม่มีทางจะเกิดภารจำยอมได้ (คำพิพากษาฎีกาที่ ๑๑๙๔/๒๕๐๘) เดิมที่ดินเป็นแปลงเดียวกันผู้อยู่ในที่ดินนั้นใช้สิทธิในฐานะเป็นบริวารและโดยอาศัยอำนาจของเจ้าของเดิมซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินรายเดียวกัน จะเกิดภาระจำยอมมิได้ (คำพิพากษาฎีกาที่ ๒๖๖๖/๒๕๓๑) การเป็นเจ้าของต่างคนกันนั้นถือตามความเป็นจริง แม้จะยังมิได้แยกโฉนดออกจากกันก็ตาม (คำพิพากษาฎีกาที่ ๘๙๐/๒๕๒๐ โจทก์ได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ในที่ดินส่วนหนึ่งแต่ยังมิได้แบ่งแยกโฉนดที่ดิน นอกนั้นเป็นของจำเลยล้อมรอบที่ดินของโจทก์อยู่ แม้ที่ดินของโจทก์และจำเลยอยู่ในโฉนดเดียวกัน แต่เมื่อแยกกันครอบครองเป็นเจ้าของคนละแปลงเป็นส่วนสัด ทางพิพาทซึ่งอยู่ในที่ดินของจำเลย ย่อมตกเป็นภารจำยอม แก่ที่ดินส่วนของโจทก์โดยอายุความได้) คำพิพากษาฎีกาที่ ๑๐๕๔/๒๕๓๔ ได้กรรมสิทธิ์ที่ดินอันเป็นสามยทรัพย์มาโดยทางมรดก แม้จะยังไม่ได้เปลี่ยนชื่อในโฉนดเป็นของตน ก็ถือว่า อยู่ในฐานะเป็นเข้าของสามยทรัพย์ มีอำนาจฟ้องให้เปิดทางภารจำยอมได้
             ที่ดินมีหนังสือรับรองการทำประโยชน์ก็เป็นอสังหาริมทรัพย์ที่ตกเป็นภารจำยอมเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินมีหนังสือรับรองการทำประโยชน์อีกแปลงหนึ่งได้ (คำพิพากษาฎีกาที่ ๖๘๔๗/๒๕๓๙)
             ๓.อสังริมทรัพย์อันหนึ่งเรียกว่าภารยทรัพย์ต้องรับกรรมอบางอย่างหรือถูกตัดทอนสิทธิบางอย่างเพื่อประโยชน์แก่อสังริมทรัพย์อื่นเรียกว่า สามยทรัพย์ เช่น เจ้าของภารยทรัพย์ต้องยอมให้เจ้าของสามยทรัพย์เดินผ่านที่ดินของตน หรือยอมให้วางท่อประปาผ่าน ยอมให้ปลูกโรงเรือน หรือกันสาด (คำพิพากษาฎีกาที่ ๙๔/๒๕๔๑) รุกล้ำหรือต้องงดเว้นไม่ปลูกเรือนให้บังทางลมหรือบังแสงสว่างแก่โรงเรียนของผู้อื่น หรือยอมให้เจ้าของโรงเรือนติดต่อใช้เสาของโรงเรือนตนเป็นที่วางคานโรงเรือนของเขาได้
             ความสำคัญอยู่ที่ว่า กรรมบางอย่างหรือสิทธิที่ถูกตัดทอนนั้น ทำให้สามยทรัพย์ได้รับประโยชน์ หรือได้รับความสะดวกขึ้นหรือไม่ ถ้าเป็นเพียงประโยชน์หรือความสะดวกแก่ตัวบุคคลโดยไม่เกี่ยวกับอสังหาทรัพย์แล้ว ย่อมจะเกิดภารจำยอมไม่ได้ คำพิพากษาฎีกาที่ ๑๗๐๐/๒๕๑๒ วินิจฉัยว่า คูพิพาทระหว่างที่ดินโจทก์จำเลยใช้เป็นทางเรือผ่านเข้าออกมา ๒๐ กว่าปี ต่อมาโจทก์จำเลยทำหนังสือรับรองว่า คูพิพาทเป็นทางเรือ และทางน้ำที่โจทก์จำเลยใช้ร่วมกัน จำเลยจะไม่ก่อสร้างอะไรลงในคูพิพาท ดังนี้คูพิพาทเป็นภารจำยอม จำเลยมีหน้าที่ทั้งตามกฎหมาย และหนังสือรับรองที่จะต้องงดเว้นไม่ทำการใดลงในคูให้เสือมประโยชน์แก่โจทก์
             เนื่องจากภารจำยอมเป็นเรื่องเพื่อโยชน์แก่อสังหาริมทรัพย์ มิใช่เพื่อประโยชน์ส่วนตัวของผู้เป็นเจ้าของอสังหาริมทรัพย์โดยเฉพาะ ฉะนั้น แม้เจ้าของอสังหาริมทรัพย์จะมิได้ใช้สอยภารยทรัพย์เอง แต่เมื่อคนใดบนอสังหาริมทรัพย์ได้ใช้สอยภารยทรัพย์นั้นก็เกิดภารจำยอมได้ (คำพิพากษาฎีกาที่ ๓๓๕/๒๔๘๕) หรือเมื่อผู้ใช้ทางพิพาทได้ฟ้องคดีขอให้เปิดทางขอให้เปิดทางพิพาทอันตกอยู่ในภาระจำยอมแล้ว แม้ต่อมาผู้นั้นจะได้โอนขายที่ดินสามยทรัพย์ให้ผู้อื่นหลังจากที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาแล้ว ก็ไม่ทำให้อำนาจฟ้องระงับไป (คำพิพากษาฏีกาที่ ๑๐๕๒/๒๕๓๔)
             เมื่ออสังหาริมทรัพย์ใดตกอยู่ภายใต้ภารจำยอมแล้ว ไม่แต่เพียงเจ้าของสามยทรัพย์เท่านั้นที่ใช้สอยภารยทรัพย์ได้ บุคคลที่อยู่บนสามยทรัพย์ตลอดจนแขกของเจ้าของสามยทรัพย์มีสิทธิใช้สอยภารยทรัพย์ได้เช่นเดียวกัน (คำพิพากษาฎีกาที่ ๑๒๗๓/๒๕๘๒) นอกจากนี้ผู้อาศัยสิทธิของผู้ซื้อในสามยทรัพย์ เช่น ผู้เช่าซื้อและผู้ทำสัญญาจะซื้อสามยทรัพย์ ก็มีสิทธิในภารยทรัพย์ด้วย (คำพิพากษาฎีกาที่ ๙๘๔-๙๘๕/๒๕๓๙) แต่เจ้าของสามยทรัพย์จะเปิดที่ดินของตนให้เจ้าของที่ดินแปลงอื่นเข้ามาใช้ทางภารจำยอมด้วยไม่ได้ (คำพิพากษาฎีกาที่ ๒๓๒๐/๒๕๓๙)
             อสังหาริมทรัพย์อาจตกอยู่ภายใต้ภารจำยอมก็เพื่อประโยชน์แก่อสังหาริมทรัพย์อื่นเท่านั้น ฉะนั้นจะอ้างว่าใช้ที่ดินเพื่อประโยชน์แก่การค้าน้ำแข็งหาได้ไม่ (คำพิพากษาฎีกาที่ ๑๑-๑๓/๑๕๐๓ ใช้ทางพิพาทสำหรับวางสินค้าจำหน่าย ก็ไม่ใช่เกี่ยวกับประโยชน์ของอสังหาริมทรัพย์ไม่เกิดสิทธิภารจำยอม (คำพิพากษาฎีกาที่ ๘๗๒๗/๒๕๔๔) แต่ถ้าอสังหาริมทรัพย์ได้ใช้เพื่อประโยชน์เกี่ยวแก่การค้าด้วย ภารจำยอมก็ย่อมมีได้ เช่น เจ้าของโรงสีข้าวในที่ดินแปลงหนึ่งใช้ที่ดินของจำเลยผ่านเข้าออกไปสู่ทางสาธารณะ แม้จะใช้ทางนั้นเพื่อประโยชน์ในการบรรทุกข้าวไปขายด้วยก็ยังคงได้สิทธิภารจำยอม (คำพิพากษาฎีกาที่ ๑๒๐๔/๒๕๑๑)
             เนื่องจากภารจำยอมเกิดขึ้นเพื่อประโยชน์แก่อสังหาริมทรัพย์ ฉะนั้นผู้ที่จะฟ้องบังคับภารจำยอมต้องเป็นเจ้าของอสังหาริมทรัพย์เท่านั้น ที่ดินที่โจทก์ครอบครองเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดิน โจทก์จึงไม่ใช่เจ้าของที่ดินไม่มีอำนาจฟ้องบังคับภารจำยอม (คำพิพากษาฎีกาที่ ๑๙๖๓/๒๕๓๗) ผู้เช่าหรือผู้อาศัยในอสังหาริมทรัพย์ไม่อาจมีสิทธิในภารจำยอมจึงไม่มีอำนาจฟ้อง (คำพิพากษาฎีกาที่ ๗๓๘/๒๕๐๓, ๑๔๖๖/๒๕๐๕ และ ๒๖๙/๒๕๓๙) การเป็นเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ถือตามความเป็นจริง แม้จะยังมิได้รับโอนทางทะเบียนก็ตาม คำพิพากษาฎีกาที่ ๑๐๕๔/๒๕๓๔ เจ้าของอสังหาริมทรัพย์ตามความเป็นจริง ก็ฟ้องขอให้เปิดทางภารจำยอมได้ (เพียงแต่เป็นทายาทมีสิทธิรับมรดกสามยทรัพย์ และยังมิได้มีการรับโอนสามยทรัพย์ทางทะเบียน) ในทำนองเดียวกัน ทรัพย์ที่ตกอยู่ภายใต้ภารจำยอม ต้องเป็นอสังหาริมทรัพย์เท่านั้น ฉะนั้นเฉพาะแต่เจ้าของอสังหาริมทรัพย์เท่านั้นจะถูกฟ้องได้ ผู้เช่า อสังหาริมทรัพย์ไม่อาจจะถูกฟ้องบังคับภารจำยอมได้ (คำพิพากษาฎีกาที่ ๑๑-๑๓/๒๕๐๓) 
             การได้มาซึ่งภารจำยอม
                 ภารจำยอมอาจได้มา ๓ วิธีด้วยกัน คือ
                 ๑.โดยนิติกรรม
                 ๒.โดยอายุความ
                 ๓.โดยผลแห่งกฎหมาย
                 
             การได้มาโดยนิติกรรม เป็นการตกลงระหว่างเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ ที่จะให้อสังหาริมทรัพย์หนึ่งตกอยู่ภายใต้ภารจำยอมเพื่อประโยชน์ แก่อสังหาริมทรัพย์อีกอันหนึ่ง โดยจะมีค่าตอบแทนหรือไม่ก็สุดแล้วแต่ เช่น เจ้าของที่ดินแปลง ก.ยอมให้เจ้าของที่ดินแปลง ข.ได้ภารจำยอม เหนือที่ดินแปลง ก.ในอันที่ีจะเดินผ่านไปสู่ทางสาธารณะมีกำหนด ๑๐ ปี หรือเจ้าของที่ดินแปลง ก. ตกลงจะไม่ปลูกอาคารปิดกั้นทางลม และแสงสว่างแก่โรงเรือนของ ข.มีกำหนด ๒๐ ปี เป็นต้น
             การทำนิติกรรมเพื่อให้ได้มาซึ่งภารจำยอมนี้ต้องอยู่ภายใต้ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๒๙๙ วรรคแรก ด้วยกล่าวคือ ต้องทำเป็นหนังสือ และจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ มิฉะนั้นไม่บริบูรณ์เป็นภารจำยอมใช้ยันบุคคลภายนอกได้ แต่ก็อาจใช้บังคับระหว่างคู่สัญญาในฐานะเป็นบุคคลสิทธิได้ (คำพิพากษาฎีกาที่ ๗๖๐/๒๕๐๗, ๔๒๗/๒๕๒๓, ๓๓๓๓/๒๕๔๙) และสิทธิดังกล่าวย่อมตกทอดแก่ทายาท ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๕๙๙, ๑๖๐๐ เพราะตามกฎหมายหรือโดยสภาพมิใช่เป็นสิทธิเฉพาะตัวของคู่สัญญาโดยแท้ (คำพิพากษาฎีกาที่ ๑๒๒๗/๒๕๓๓)
            การได้มาโดยอายุความ มีบัญญัติไว้ใน มาตรา ๑๔๐๑ ว่า "ภารจำยอมอาจได้มาโดยอายุความ ท่านให้นำบทบัญญัติว่าด้วยอายุความได้สิทธิอันกล่าวไว้ในลักษณะ ๓ แห่งบรรพนี้มาใช้บังคับโดยอนุโลม"
            อายุความได้สิทธิที่จะนำมาใช้คือ มาตรา ๑๓๘๒ ฉะนั้นถ้าเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ได้ใช้สอยอสังหาริมทรัพย์อื่น โดยความสงบ โดยเปิดเผย (คำพิพากษาฎีกาที่ ๕๒๓๖/๒๕๔๖) และด้วยเจตนาจะได้ได้สิทธิภารจำยอมในอสังหาริมทรัพย์นั้นติดต่อกันเป็นเวลา ๑๐ ปี ย่อมได้ภารจำยอมเหนืออสังหาริมทรัพย์นั้น โดยไม่จำเป็นว่าจะต้องมีประชาชนทั่วไป หรือ บุคคลอื่นใช้เป็นประจำด้วยหรือไม่ (คำพิพากษาฎีกาที่ ๕๕๘๓/๒๕๓๖) และไม่ต้องคำนึงว่าภารยทรัพย์นั้นจะเป็นของผู้ใดหรือเจ้าของสามยทรัพย์จะต้องรู้ว่าใครเป็นเจ้าของภารยทรัพย์นั้น (คำพิพากษาฎีกาที่ ๓๐๕๙/๒๕๔๕)
            การได้ภารจำยอมโดยอายุความนี้ อาจนำมาตรา ๑๓๘๑ มาใช้บังคับ และถ้าเป็นภารจำยอมเกี่ยวกับทางเดิน แม้จะย้ายทางเดินเพราะมีความจำเป็นทางฝ่ายเจ้าของที่ดิน แต่หากยังอยู่ในที่ดินแปลงเดียวกันก็นับระยะเวลาติดต่อกันได้ ดังจะเห็นได้จากคำพิพากษาฎีกาที่ ๑๑๓๔/๒๕๑๖ และ ๔๔๖/๒๕๔๑ ซึ่งวินิจฉัยว่า ผู้ใชทางเดินโดยความยินยอมของเจ้าของที่ดินอาจได้ภารจำยอมโดยอายุความได้ ถ้าต่อมาได้ใช้ทางโดยอาการที่ถือสิทธิเป็นปรปักษ์ต่อเจ้าของที่ดิน การที่ผู้ใช้ทางต้องย้ายทางที่ใช้อยู่เดิมไปใช้ทางใหม่ในที่ดินแปลงเดียวกัน เพราะเจ้าของที่ดินปลูกบ้านทับทางนั้นเป็นไปเพื่อประโยชน์ของเจ้าของที่ดิน จึงต้องนับอายุความทางภารจำยอมติดต่อกัน นอกจากนี้ บทบัญญัติ ในมาตรา ๑๓๘๒, ๑๓๘๕ ย่อมจะนำมาใช้บังคับเกี่ยวกับการได้ภารจำยอมโดยอายุความด้วย เช่น คำพิพากษาฎีกาที่ ๑๔๖๖/๒๕๐๕ แม้ผู้เช่าจะไม่มีสิทธิบังคับภารจำยอม แต่ถ้าต่อมาผู้เช่ากลายมาเป็นเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ ก็มีสิทธิในภารจำยอมได้ และมีสิทธินับระยะเวลาตอนเป็นผู้เช่าที่ได้ใช้ภารยทรัพย์รวมเข้ากับตอนเป็นเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ได้ เพราะการใช้ภารยทรัพย์ ไม่จำเป็นที่เจ้าของอสังหาริมทรัพย์ต้องใช้เอง คำพิพากษาฎีกาที่ ๑๑๓/๒๕๐๔ ตอนแรก โจทก์ที่ ๑ เช่าที่ดินปลูกบ้านอยู่ และโจทก์ที่ ๒ เช่าบ้านอยู่ โจทก์ทั้งสองได้ใช้ทางพิพาทเข้าออกสู่ทางสาธารณะเรื่อยมา ตอนหลังโจทก์ทั้งสองซื้อที่ดิน และคงใช้ทางพิพาทตลอดมา เมื่อระยะเวลาทั้งสองตอนเกิน ๑๐ ปี โจทก์ย่อมได้ภารจำยอมในทางพิพาทโดยอายุความ (คำพิพากษาฎีกาที่ ๑๐๘๒/๒๕๒๖ ก็วินิจฉัยอย่างเดียวกัน) คำพิพากษาฎีกาที่ ๗๒๑/๒๕๑๘ ผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินนับเวลาที่เจ้าของเดิมเดินผ่านที่ดินติดต่อกันเพื่อได้ภารจำยอมเหนือที่ดินนั้นได้ ถ้าเลิกใช้ หากกลับมาใช้ใหม่ไม่ถึง ๑๐ ปี ยังไม่ได้ภารจำยอม การกลับมาเยี่ยมบ้านเดือนละ ๒-๓ ครั้ง ไม่เป็นการใช้ทางพิพาท
             คำพิพากษาฎีกาที่ ๑๔๐๔/๒๕๓๙ ภารจำยอมก่อตั้งขึ้นสำหรับเจ้าของสามยทรัพย์ การที่ผู้เช่าที่ดินจากกระทรวงการคลังขนส่งไปรษณีย์ในกิจการของผู้เช่าผ่านที่ดินของผู้อื่น มิได้เป็นการใช้แทนหรือทำในนาม หรือเพื่อประโยชน์ของกระทรวงการคลัง แม้จะใช้มานานกว่า ๑๐ ปี ก็ไม่ก่อให้เกิดภารจำยอมแก่กระทรวงการคลัง
             คำพิพากษาฎีกาที่ ๑๗๘๘/๒๕๔๑ โจทก์เป็นเจ้าของที่ดินแปลงหนึ่งใช้ทางพิพาทยังไม่ถึง ๑๐ ปี แม้เจ้าของที่ดินแปลงอื่นได้ใช้ทางเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินของเขาเกิน ๑๐ ปี แต่เมื่อมิได้ใช้เพื่อประโยชน์แก่ที่ดินของโจทก์ จึงนำระยะเวลาที่เจ้าของที่ดินแปลงอื่นใช้ประโยชน์ในทางนั้นมารวมเพื่อให้ที่ดินของโจทก์ได้ภารจำยอมโดยอายุความไม่ได้
             คำพิพากษาฎีกาที่ ๔๐๑๓/๒๕๔๑ ภารจำยอมเหนือที่ดินแปลงหนึ่งจะเกิดขึ้นได้ก็เพื่อประโยชน์แก่ที่ดินแปลงอื่นเท่านั้น เมื่อเดิมที่ดินของโจทก์และที่ดินของจำเลยที่ ๒ เป็นที่ดินแปลงเดียวกัน โดยมี ฮ. และ บ. เป็นเจ้าของร่วมกัน แม้ ฮ.จะใช้ที่ดินส่วนหนึ่งเดินเกินกว่า ๑๐ ปี แล้วก่อนขายให้โจทก์ ก็ไม่ก่อให้เกิดภารจำยอมเหนือที่ดินของ ฮ. เอง การที่โจทก์ใช้ทางเดินนั้น โดยอาศัยสิทธิของ ฮ. ก่อนซื้อที่ดินจาก ฮ. ย่อมไม่ก่อให้เกิดภารจำยอมเหนือที่ดินดังกล่าวเช่นกัน ดังนั้น การนับเวลาการได้ภารจำยอมโดยอายุความยังไม่เริ่มต้น จึงไม่อาจนำเวลาดังกล่าวนับรวมกันได้ ต่อมาเมื่อมีการแบ่งแยกที่ดินออก และมีการโอนกรรมสิทธิ์ให้เป็นของโจทก์แปลงหนึ่งและของจำเลยที่ ๒ อีกแปลงหนึ่งแล้ว หลังจากกนั้นการใช้ทางส่วนที่ผ่านที่ดินของจำเลยที่ ๒ จึงเป็นการใช้อสังหาริมทรัพย์ของผู้อื่นโดยปรปักษ์อันจะก่อให้เกิดภารจำยอมได้ อายุความที่จะได้ภารจำยอมต้องเริ่มนับตั้งแต่เวลาได้มีการแบ่งแยกและโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่โจทก์ (มีคำพิพากษาฎีกาที่ ๓๒๒๓/๒๕๔๒ วินิจฉัยอย่างเดียวกัน)
         
            #ต้องการฟ้องคดีเรื่องภารจำยอม ติดต่อ ทนายความ 0986165819

วันพุธที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2563

การเพิกถอนการได้ทรัพยสิทธิทางทะเบียน ช่องทางได้ที่ดินคืน ทางแก้คนถูกเอาเปรียบ

การเพิกถอนการได้ทรัพยสิทธิทางทะเบียน
                   หลายคนคงเคยประสบกับปัญหาเกี่ยวกับทรัพย์สิน เช่น เรื่องมรดก ยังไม่ได้แบ่งแต่ผู้จัดการมรดก ได้โอนที่ดิน ขายให้คนอื่น หรือ ซื้อที่ดินมายังไม่ได้จดทะเบียนโอน แต่คนขายไปจดทะเบียนโอนให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่ง หรือ มีกรณีใดๆ ลักษณะคล้ายกันนี้ ก็ถือว่าเป็นเรื่องแย่มาก ภาษาชาวบ้านเรียกว่า โดนโกงนั่นเอง ซึ่งในทางกฎหมาย ขออธิบายเป็นวิทยาทาน ดังต่อไปนี้
                   ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๓๐๐ บัญญัติว่า ถ้าได้จดทะเบียนการโอนอสังหาริมทรัพย์ หรือทรัพยสิทธิอันเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์เป็นทางเสียเปรียบแก่บุคคลผู้อยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้อยู่ก่อนไซร้ ท่านว่าบุคคลนั้นอาจเรียกให้เพิกถอนการจดทะเบียนนั้นได้ แต่การโอนอันมีค่าตอบแทนซึ่งผู้รับโอนกระทำโดยสุจริตนั้น ไม่ว่ากรณีจะเป็นประการใด ท่านว่าจะเรียกให้เพิกถอนไม่ได้
                   มาตรานี้เป็นบทบัญญัติที่แก้ไขผ่อนคลายความศักดิ์สิทธิ์ของมาตรา ๑๒๙๙ วรรคแรก เพราะตามมาตรา ๑๒๙๙ วรรคแรก การได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์ หรือทรัพยสิทธิอันเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์โดยนิติกรรม ถ้าไม่ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ย่อมไม่บริบูรณ์ ไม่อาจถือว่าได้ทรัพยสิทธิในอสังหาริมทรัพย์อันจะใช้ยันต่อบุคคลภายนอกได้เลย แต่แม้กระนั้นก็ตามผู้นั้นก็ยังมีทางแก้ไขตาม มาตรา ๑๓๐๐ คือ ถ้าเจ้าของอสังหาริมทรัพย์คนเดิมได้จดทะเบียนโอนอสังหาริมทรัพย์หรือทรัพยสิทธิอันเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์นั้นไปให้บุคคลอื่น และบุคคลอื่นรับโอนไปโดยไม่สุจริตก็ดี หรือรับโอนโดยไม่เสียค่าตอบแทนก็ดี ผู้ที่ได้อสังหาริมทรัพย์หรือทรัพยสิทธิอันเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์มาโดยไม่บริบูรณ์เพราะมิได้จดทะเบียนนั้น มีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนโอนนั้นได้ มาตรา ๑๓๐๐ นี้คล้ายกับมาตรา ๑๒๙๙ วรรคสองอยู่มากเพียงแต่ต่างกันดังนี้
                   ๑.มาตรา ๑๒๙๙ วรรคสอง เป็นเรื่องเฉพาะผู้ได้อสังหาริมทรัพย์หรือทรัพยสิทธิอันเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์โดยทางอื่นนอกจากนิติกรรมเท่านั้น แต่มาตรา ๑๓๐๐ เป็นเรื่องบุคคลผู้อยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้ก่อน ซึ่งย่อมรวมทั้งผู้ได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์ หรือทรัพยสิทธิอันเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ทั้งโดยนิติกรรม และโดยทางอื่นนอกจากนิติกรรมด้วย
                   ๒.มาตรา ๑๒๙๙ วรรคสอง เป็นเรื่องยกขึ้นอ้างหรือต่อสู้บุคคลภายนอกผู้ได้สิทธิมาโดยไม่เสียค่าตอบแทน หรือโดยไม่สุจริต หรือมิได้จดทะเบียนสิทธิโดยสุจริตเท่านั้น แต่มาตรา ๑๓๐๐ เป็นเรื่องเรียกให้เพิกถอนการจดทะเบียนของผู้ที่รับโอนโดยไม่เสียค่าตอบแทน หรือรับโอนโดยไม่สุจริตทีเดียว
                   ที่ว่า มาตรา ๑๓๐๐ คล้ายกับ มาตรา ๑๒๙๙ วรรคสองนั้น คล้ายกันตรงที่ว่า ถ้าบุคคลใดไม่อาจยกข้อต่อสู้บุคคลภายนอกตาม มาตรา ๑๒๙๙ วรรคสองได้แล้ว บุคคลนั้นก็จะมาฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนการโอนตามมาตรา ๑๓๐๐ มิได้ ทั้งนี้ตามคำพิพากษาฎีกาที่ ๗๐๒/๒๕๐๐ ซึ่งวินิจฉัยว่า เมื่อโจทก์มิได้จดทะเบียนการได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดินโดยการครอบครอง ย่อมไม่อาจยกเป็นข้อต่อสู้บุคคลภายนอกผู้รับโอนที่พิพาทโดยสุจริต เสียค่าตอบแทน และจดทะเบียนโดยสุจริตได้ ฉะนั้นจึงไม่อาจฟ้องขอให้เพิกถอนการโอนที่ดินระหว่างเจ้าของ และบุคคลภายนอกตามมาตรา ๑๓๐๐ ได้
บุคคลผู้อยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้อยู่ก่อนนั้น ได้แก่
                    (๑) บุคคลผู้ทำนิติกรรมเพื่อให้ได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์หรือทรัพยสิทธิอันเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ แต่ยังมิทันได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนการได้มาต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายบัญญัติไว้ เช่น ซื้อที่ดินแต่ยังมิได้จัดการโอนทางทะเบียน ได้ชื่อว่าอยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิได้ก่อนแล้ว ทั้งนี้ตามตัวอย่างคำพิพากษาฎีกาดังต่อไปนี้
                    คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๑๐๘๙/๒๔๙๑ โจทก์ซื้อเรือต่อขนาด ๖.๖๗ ตัน จากจำเลยที่ ๑ โดยทำหนังสือกันเอง และได้ชำระเงินแล้ว จำเลยที่ ๑ ได้มอบทะเบียนและเรือให้โจทก์แล้ว เพียงแต่ยังไม่ได้ไปโอนแก้ทะเบียนที่กรมเจ้าท่า โจทก์ย่อมมีสิทธิในเรือลำนี้แล้ว ถ้าจำเลยที่ ๑ โอนทะเบียนให้จำเลยที่ ๒ โดยจำเลยที่ ๒ รู้อยู่แล้วว่าเรือเป็นของโจทก์ โจทก์มีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนได้
                    คำพิพากษาฎีกาที่ ๑๖๑๙/๒๔๙๔ ทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินกับผู้ซื้อได้ชำระราคาแล้ว แต่ยังโอนกันมิได้ เพราะเจ้าพนักงานที่ดินส่งโฉนดไปยังกรมที่ดินเสีย ผู้ขายจึงมอบที่ดินให้ผู้ซื้อครอบครองไปพลางก่อนจนกว่ากรมที่ดินจะส่งโฉนดคืนมา จึงจะทำการโอนกัน ผู้ซื้อได้เข้าครอบครองมา ๔ ปีเศษแล้ว ถือว่าผู้ซื้ออยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้ก่อนตามมาตรา ๑๓๐๐ 
                    คำพิพากษาฎีกาที่ ๑๒๕๔/๒๕๐๐ จำเลยที่ ๑ ทำสัญญาขายที่ดินให้โจทก์แล้ว แต่ยังมิได้ไปทำสัญญาซื้อขายและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ เพราะการผัดผ่อนของจำเลยที่ ๑ ต่อมาจำเลยที่ ๑ สมคบกับจำเลยที่ ๒ โอนที่พิพาทให้จำเลยที่ ๒ กับบุตร ดังนี้โจทก์อยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้ก่อนแล้วตามมาตรา ๑๓๐๐ จึงขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนได้
                    คำพิพากษาฎีกาที่ ๓๐๑๑/๒๕๔๐ จำเลยทั้งสามนำที่ดินของจำเลยที่ ๒ มาเป็นประกันการทุเลาการบังคับ โดยจำเลยที่ ๒ ทำหนังสือสัญญาค้ำประกันไว้และศาลชั้นต้นมีคำสั่งห้ามเจ้าพนักงานที่ดินมิให้ทำนิติกรรมจนกว่าจะมีคำสั่งเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่น แม้สัญญาค้ำประกันจะมีผลจนกว่าจะชำระหนี้ตามคำพิพากษาให้แก่โจทก์ครบถ้วนแต่ที่ดินดังกล่าวยังมิได้ถูกยึดหรืออายัด จึงไม่ต้องห้ามมิให้ยึดซ้ำตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๒๙๐ กรมสรรพกรย่อมมีอำนาจยึดที่ดินของจำเลยที่ ๒ ออกขายทอดตลาดเพื่อชำระหนี้ค่าภาษีได้ การที่ผู้ร้องซื้อที่ดินและได้ชำระราคาครบถ้วนแล้ว จึงอยู่ในฐานะจดทะเบียนได้ก่อนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๓๐๐ และเมื่อกรมสรรพากรมีหนังสือแจ้งให้เจ้าพนักงานที่ดินจดทะเบียนโอนที่ดินให้แก่ผู้ร้อง แต่เจ้าพนักงานที่ดินมิอาจอำเนินการให้ได้ ผู้ร้องจึงมีสิทธิร้องขอให้ศาลชั้นต้นเพิกถอนคำสั่งที่ห้ามทำนิติกรรมเกี่ยวกับที่ดินได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๕๗(๑)
                     คำพิพากษาฎีกาที่ ๖๗๕๒/๒๕๔๗ จำเลยที่ ๒ ทำสัญญาประนีประนอมยอมความตกลงยกที่ดินพร้อมบ้านส่วนของจำเลยที่ ๒ ให้แก่ผู้ร้อง โดยจะโอนกรรมสิทธิ์ให้เมื่อผู้ร้องมีอายุ ๒๐ ปีบริบูรณ์ศาลพิพากษาตามยอมแล้ว ขณะยื่นคำร้องขอกันส่วนผู้ร้องมีอายุ ๒๔ ปี คำพิพากษาตามยอมจึงมีผลบังคับให้จำเลยที่ ๒ ต้องโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่ผู้ร้องแล้ว ผู้ร้องจึงเป็นผู้อยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้อยู่ก่อนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๓๐๐
                     แต่ถ้านิติกรรมที่ทำนั้นเป็นเพียงก่อให้เกิดบุคคลสิทธิ ซึ่งไม่ใช่สิทธิที่จะนำมาจดทะเบียนการได้มา เช่น ทรัพยสิทธิแล้ว บุคคลผู้ทำนิติกรรมนั้นยังไม่ถือว่าอยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิได้ เช่น ทำสัญญาจะซื้อขายที่ดิน ผู้จะซื้อไม่มีสิทธิที่จะไปจดทะเบียนการซื้อขายได้โดยตรง เพียงแต่มีสิทธิบังคับให้ผู้จะขายทำสัญญาซื้อขายให้เท่านั้นจึงจะให้มีการจดทะเบียนการซื้อขายกันต่อไป ดังนั้นผู้จะซื้อจึงไม่ถือว่าอยู่ในฐานะจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้ก่อน
                     คำพิพากษาฎีกาที่ ๘๗๔/๒๔๙๐ ผู้ที่ฟ้องขอให้เพิกถอนตามมาตรา ๑๓๐๐ จะต้องแสดงว่าตนอยู่ในฐานะอันจะจดทะเบียนสิทธิได้ เพียงแต่ได้ความว่าทำสัญญาจะซื้อขายและวางมัดจำไว้ ไม่เรียกว่าอยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนตามมาตรา ๑๓๐๐
                     คำพิพากษาฎีกาที่ ๖๐๑/๒๔๙๗ สัญญาจะซื้อขายอสังหาริมทรัพย์นั้น เป็นเพียงบุคคลสิทธิ หามีทรัพยสิทธิติดตามตัวทรัพย์เอากลับคืนจากบุคคลภายนอกได้ไม่ และไม่เป็นสิทธิที่จะจดทะเบียนได้ จึงไม่มีสิทธิจะฟ้องให้เพิกถอนการโอนอสังหาริมทรัพย์ที่บุคคลอื่นได้จดทะเบียนไว้แล้วตามมาตรา ๑๓๐๐
                     คำพิพากษาฎีกาที่ ๔๙๗๙ ถึง ๔๙๘๒/๒๕๓๙ ล.เจ้ามรดกทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินไวว้กับโจทก์ก่อนที่ ล. จะถึงแก่ความตาย โจทก์จึงมีเพียงบุคคลสิทธิ ยังไม่อยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้ก่อนที่จะฟ้องเพิกถอนการจดทะเบียนโอนที่ดินระหว่างจำเลยที่ ๑ และ จำเลยที่ ๒ ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกของ ล.กับจำเลยที่ ๓ ซึ่งเป็นผู้รับพินัยกรรม
                     แต่อย่างไรก็ตาม ผู้ที่มีเพียงบุคคลสิทธิ เช่น ผู้จะซื้อแม้จะขอให้เพิกถอนการโอนทางทะเบียนตามมาตรา ๑๓๐๐ มิได้ก็ตามแต่ก็อาจขอให้เพิกถอนการโอนนั้นได้ตามมาตรา ๒๓๗ ซึ่งเป็นเรื่องเจ้าหนี้ขอให้เพิกถอนนิติกรรมที่ลูกหนี้ได้ทำลงโดยรู้อยู่ว่าจะเป็นทางให้เจ้าหนี้เสียเปรียบ ดังจะเห็นได้จากคำพิพากษาฎีกาที่ ๑๑๘๐/๒๕๐๒ และ ๓๔๕๔/๒๕๓๓ ซึ่งวินิจฉัยว่า จำเลยที่ ๒ รู้ดีแล้วว่าจำเลยที่ ๑ ทำสัญญาจะขายที่ดินให้โจทก์และรับเงินค่าที่ดินบางส่วนไปแล้ว ยังรับโอนที่ดินจากจำเลยที่ ๑ ดังนี้ ถือว่าทำให้โจทก์เสียเปรียบ โจทก์ขอให้เพิกถอนการโอนได้ตาม มาตรา ๒๓๗
                     คำพิพากษาฎีกาที่ ๙๐/๒๕๑๖ จำเลยทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินและบ้านจาก ม. แต่ยังชำระราคาไม่ครบ จำเลยจึงมิใช่ผู้อยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้ก่อนตาม มาตรา ๑๓๐๐ คดีของจำเลยต้องด้วยมาตรา ๒๓๗
                     นอกจากที่กล่าวแล้ว กรณีที่ตกลงกันโอนที่ดินชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ เจ้าหนี้ก็อยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิได้ก่อนตาม มาตรา ๑๓๐๐ เช่นกัน (คำพิพากษาฎีกาที่ ๖๐๙/๒๕๔๔)
                     (๒) บุคคลผู้ได้อสังหาริมทรัพย์หรือทรัพยสิทธิในอสังหาริมทรัพย์โดยทางอื่นนอกจากนิติกรรมแต่ยังมิได้จดทะเบียนการได้มาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๒๙๙ วรรคสอง เช่น ได้ที่ดินมาโดยการครอบครองปรปักษ์ตามมาตรา ๑๓๘๒ หรือโดยการรับมรดกตามมาตรา ๑๕๙๙ เป็นต้น แม้จะยังไม่จดทะเบียนก็ถือว่าอยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้ก่อนแล้ว เช่น
                     คำพิพากษาฎีกาที่ ๑๑๖๙/๒๔๘๗ รับมรดกปกครองที่ดินร่วมกันมา ผู้รับมรดกคนหนึ่งโอนที่ดินมรดกทั้งหมดให้บุตรโดยไม่สุจริตผู้รับมรดกอื่นฟ้องขอให้เพิกถอนการโอนได้ตาม มาตรา ๑๓๐๐ และ ๑๓๕๙
                     คำพิพากษาฎีกาที่ ๓๒/๒๔๙๐ ซื้อที่ดินและครอบครองเป็นเจ้าของมาเกิน ๑๐ ปี แม้จะไม่ได้แก้ทะเบียนโอนโฉนดกัน ก็ถือว่าผู้นั้นอยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้ มีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนโอนที่ดินนั้นโดยไม่สุจริตได้ตามมาตรา ๑๓๐๐ (คำพิพากษาฎีกาที่ ๑๘๘๖/๒๕๓๖ ก็วินิจฉัยอย่างเดียวกัน)
                     คำพิพากษาฎีกาที่ ๑๕๙๑/๒๕๔๘ โจทก์ จำเลยที่ ๑ และทายาทอื่นครอบครองที่ดินทรัพย์มรดกร่วมกันมา การที่จำเลยที่ ๑ โอนที่ดินให้แก่จำเลยที่ ๒ ที่ ๓ และที่ ๔ ซึ่งมิใช่ทายาทโดยไม่มีค่าตอบแทน โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนการโอนเฉพาะส่วนของโจทก์ได้ตามมาตรา ๑๓๐๐
                     เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาที่มีสิทธิรับโอนอสังหาริมทรัพย์ ก็อยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้ก่อน เช่น 
                     คำพิพากษาฎีกาที่ ๕๗๖/๒๔๙๕ สิทธิของผู้จะซื้อที่ดินตามสัญญาจะซื้อขายนั้น เมื่อนำคดีมาสู่ศาลจนศาลพิพากษาให้ผู้จะขายโอนขายที่ดินให้แก่ผู้จะซื้อตามสัญญาจะซื้อขายนั้นแล้ว แม้คดีจะยังไม่ถึงที่สุดก็อยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้อยู่ก่อนตามมาตรา ๑๓๐๐ แล้ว ฉะนั้น ถ้าผู้จะขายขายที่ดินนั้นแก่ผู้อื่นไปในระหว่างคดียังไม่ถึงที่สุดโดยผู้ซื้อไม่สุจริตแล้ว ผู้จะซื้อมีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมนั้นเสียได้ตามมาตรา ๒๓๗ และ ๑๓๐๐
                     คำพิพากษาฎีกาที่ ๒๙๖๑/๒๕๑๗ เดิมผู้ร้องฟ้องจำเลยให้โอนที่ดินให้ผู้ร้อง ศาลพิพากษาให้จำเลยโอนที่ดินให้ผู้ร้องแล้ว ต่อมาโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของจำเลยได้ยึดที่ดินนั้นเพื่อชำระหนี้ ผู้ร้องจึงขอให้ศาลเพิกถอนการยึดทรัพย์ ดังนี้ แม้ที่ดินยังมีชื่อจำเลยในโฉนด ผู้ร้องก็มีสิทธิที่จะจดทะเบียนการได้มาก่อนโจทก์ ผู้ร้องจึงขอให้เพิกถอนการยึดที่ดินได้ตามมาตรา ๑๓๐๐
                      คำพิพากษาฎีกาที่ ๑๐๖๖/๒๕๒๐ ผู้ร้องซื้อที่ดินและตึกแถวจากโจทก์ ต่อมาผู้ร้องฟ้องโจทก์ ศาลพิพากษาตามยอมให้โจทก์โอนที่ดินให้ผู้ร้อง แต่โฉนดอยู่ที่จำเลยโดยโจทก์ให้จำเลยยึดไว้ต่างหนี้ จำเลยทำยอมความกับโจทก์ว่าจะคืนโฉนดเมื่อโจทก์ชำระหนี้ โจทก์ผิดนัด จำเลยจึงยึดที่ดินตามยอมทำการบังคับคดี ดังนี้ผู้ร้องอยู่ในฐานะให้จดทะเบียนสิทธิได้ก่อน การบังคับคดีของจำเลยไม่กระทบถึงสิทธิของผู้ร้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา ๒๘๗
                      คำพิพากษาฎีกาที่ ๔๐๗/๒๕๓๒ แม้โจทก์ยึดที่พิพาทก่อนศาลพิพากษาให้จำเลยโอนขายที่พิพาทให้ผู้ร้อง แต่ต่อมาเมื่อศาลพิพากษาให้จำเลยโอนขายที่พิพาทให้ผู้ร้อง ย่อมถือว่าผู้ร้องอยู่ในฐานะอันจะจดทะเบียนสิทธิได้อยู่ก่อนตามมาตรา ๑๓๐๐ หากยังไม่มีการขายทอดตลาดที่พิพาท ผู้ร้องย่อมขอให้เพิกถอนการยึดได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๒๘๗
                      คำพิพากษาฎีกาที่ ๒๒๖๘/๒๕๔๐ ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ปล่อยทรัพย์ที่ยึดในคดีนี้ โดยอ้างสิทธิตามคำพิพากษาในคดีก่อนซึ่งพิพากษาว่า ให้จำเลยแบ่งแยกโฉนดที่ดินส่วนที่เป็นของ ศ.ออกและโอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน ๙๒ ไร่ ให้แก่ผู้ร้อง หากจำเลยไม่ปฏิบัติตามให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนา และให้จำเลยรับเงินส่วนที่เหลือ ๖,๔๓๗,๔๘๐ บาท จากผู้ร้อง หากจำเลยไม่ยอมโอนกรรมสิทธิ์ให้ชดใช้เงินค่าปรับรวม ๓,๘๔๒,๕๒๐ บาท คำพิพากษาดังกล่าวให้สิทธิแก่ผู้ร้องมีฐานะเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาและมีสิทธิที่จะบังคับคดีตามขั้นตอนในคำพิพากษา หาใช่ให้สิทธิแก่จำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาที่จะเลือกปฏิบัติไม่ เมื่อผู้ร้องเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาเกี่ยวกับที่ดินที่ยึดไว้ดังกล่าว ผู้ร้องจึงอยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนเกี่ยวกับที่ดินอันเป็นทรัพย์ที่ยึดนั้นได้ก่อนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๓๐๐ มีอำนาจยื่นคำร้องขอให้ปล่อยที่ดินอันเป็นทรัพย์ที่ยึดได้(คำพิพากษาฎีกาที่ ๗๒๐๕/๒๕๔๓ ก็วินิจฉัยอย่างเดียวกัน)
                       เจ้าของกรรมสิทธิ์นั้นถือว่ามิใช่ผู้อยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิได้ก่อนดังที่บัญญติไว้ในมาตรา ๑๓๐๐ ฉะนั้น ผู้รับโอนจะอ้างว่าเสียค่าตอบแทนและรับโอนโดยสุจริต มาใช้ยันต่อเจ้าของเพื่อให้ได้สิทธิตามาตรา ๑๓๐๐ มิได้ ทั้งนี้ตามแบบอย่างคำพิพากษาฎีกาที่ ๒๐๔๙/๒๔๙๒ ซึ่งข้อเท็จจริงมีอยู่ว่า มีผู้ปลอมตัวเป็นโจทก์และเซ็นชื่อปลอมเป็นโจทก์ทำสัญญาจำนองที่ดินของโจทก์ไว้แก่จำเลยผู้รับจำนองโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทน โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนการจำนอง ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า โจทก์มิใช่บุคคลผู้อยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้ แต่เป็นผู้จดทะเบียนเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์อยู่แล้ว จะนำมาตรา ๑๓๐๐ มาใช้แก่กรณีนี้มิได้ การจำนองเป็นไปโดยสำคัญผิดในตัวบุคคลเป็นโมฆะ จึงให้เพิกถอนการจำนอง
                       ถ้าเป็นเรื่องที่จะต้องพิจารณาระหว่างเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมดัวยกัน กรณีก็ไม่อยู่ในบทบังคับของมาตรา ๑๓๐๐ เช่นกัน ดังจะเห็นได้จากคำพิพากษาฎีกาที่ ๔๗๕/๒๔๙๒ ซึ่งวินิจฉัยว่า โจทก์ที่ ๑ มีชื่อในโฉนดที่นาร่วมกับจำเลย ต่อมาโจทก์ที่ ๒ ซื้อที่นาเฉพาะส่วนของโจทก์ที่ ๑ จึงมีชื่อในโฉนดร่วมกับจำเลย โจทก์ที่ ๒ ฟ้องจำเลยขอให้แบ่งนาพิพาทให้ครึ่งหนึ่ง จำเลยต่อสู้ว่าส่วนของจำเลยมีมากกว่าครึ่งหนึ่งและได้ครอบครองเป็นส่วนสัดกันมา ดังนี้มิใช่กรณีตามมาตรา ๑๓๐๐ แต่เป็นปัญหาเรื่องกรรมสิทธิ์รวมตามมาตรา ๑๓๕๗
                       ผู้อยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้ก่อนจะขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนโอนอสังหาริมทรัพย์ หรือทรัพยสิทธิอันเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ได้ก็ต่อเมื่อ
                       1.การจดทะเบียนการโอนนั้น ทำให้ตนเสียเปรียบ
                       2.ผู้รับโอนรับโอนไปโดยไม่มีค่าตอบแทน หรือถ้าเป็นการโอนโดยมีค่าตอบแทน ผู้รับโอนก็กระทำการโดยไม่สุจริต
                       อย่างไรเรียกว่าทำให้ตนเสียเปรียบนั้น ย่อมแล้วแต่ข้อเท็จจริงเป็นเรื่องๆ ไป ตามธรรมดาการโอนอสังหาริมทรัพย์หรือทรัพยสิทธิอันเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ไปให้ผู้อื่น ย่อมถือว่าทำให้ผู้ที่อยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้อยู่ก่อนแล้วเสียเปรียบเสมอ แต่ถ้าเป็นการโอนทรัพยสิทธิคนละประเภทกับทรัพยสิทธิของผู้อยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิได้ก่อนแล้ว ย่อมไม่ถือว่าทำให้เสียเปรียบ เช่น ได้ภารจำยอมมาโดยอายุความตามมาตรา ๑๔๐๑ และ ๑๓๘๒ แต่ยังมิได้จดทะเบียน เจ้าของภารยทรัพย์โอนกรรมสิทธิ์ในภารยทรัพย์ให้บุคคลอื่นไปเช่นนี้ ย่อมไม่ทำให้ผู้ได้ภารจำยอมเสียเปรียบแต่อย่างใด เพราะภารจำยอมย่อมติดไปกับภารยทรัพย์ด้วย (คำพิพากษาฎีกาที่ ๘๐๐/๒๕๐๒) ฉะนั้น ผู้ได้ภารจำยอมจะขอให้เพิกถอนการโอนอสังหาริมทรัพย์นั้นตามมาตรา ๑๓๐๐ มิได้
                       อย่างไรถือว่ามีค่าตอบแทน หรือทำการโอนโดยสุจริตนั้น อาศัยหลักเดียวกับ มาตรา ๑๒๙๙ 
                       มาตรา ๑๓๐๐ บัญญัติแต่เรื่องการโอนอันมีค่าตอบแทน ซึ่งผู้รับโอนกระทำการโดยสุจริตเท่านั้น มิได้บัญญัติว่าต้องจดทะเบียนสิทธิโดยสุจริตด้วย แต่ก็ต้องเป็นที่เข้าใจว่าเนื่องจากการโอนตามมาตรา ๑๓๐๐ เป็นการโอนโดยการจดทะเบียน ฉะนั้น ข้อความที่ว่าผู้รับโอนกระทำการโดยสุจริตนั้น จึงต้องหมายความอยู่ในตัวว่าความสุจริตนั้น ต้องมีอยู่ในขณะโอน คือขณะจดทะเบียนด้วย
                       ถ้าผู้รับโอนรับโอนโดยเสียค่าตอบแทนและกระทำการโดยสุจริตแล้ว ผู้อยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิได้ก่อน ไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนได้ คำพิพากษาฎีกาที่ ๑๓๙๙-๑๔๐๐/๒๔๙๖ ภริยาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายของชาย อยู่กินกันมานาน เมื่อชายตายหญิงเชื่อว่าตนมีสิทธิรับมรดก จึงขอรับมรดกโฉนดที่ดินแล้วโอนขายให้บุคคลภายนอกผู้ซื้อโดยสุจริตและจดทะเบียนสิทธิโดยสุจริตแล้ว ทายาทของชายจะขอให้เพิกถอนมิได้
                       มาตรา ๑๓๐๐ เป็นเรื่องการโอนอสังหาริมทรัพย์ หรือทรัพยสิทธิอันเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ แต่มี คำพิพากษาฎีกาที่ ๑๐๗๙/๒๔๗๙, ๑๐๔๖/๒๔๘๐ และ ๓๙๔/๒๕๓๔ วินิจฉัยว่าการจำนองก็อยู่ในบทบัญญัติมาตรา ๑๓๐๐ ซึ่งอาจจะขอให้เพิกถอนได้เช่นกัน