วันอังคารที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2562

กฎหมายอาญามาตรา ๑-๕๘

กฎหมายอาญามาตรา ๑-๕๘
แบ่งเป็นส่วนดังนี้
มาตรา ๑ ถึง ๑๑ เป็นเรื่องการใช้กฎหมายอาญา
มาตรา ๑๗ เป็นบทบัญญัติให้นำประมวลกฎหมายอาญาภาคหนึ่งไปใช้กับกฎหมายอาญาอื่น
มาตรา ๑๘ ถึงมาตรา ๓๘ เป็นเรื่องโทษ
มาตรา ๓๙ ถึงมาตรา ๕๐ เป็นเรื่องวิธีการเพื่อความปลอดภัย
มาตรา ๕๑ ถึงมาตรา ๕๘ เป็นเรื่องรอการลงโทษ การเพิ่มโทษ และการลดโทษ

การใช้กฎหมายอาญา
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๒ วรรคแรก บัญญัติว่า "บุคคลจักต้องรับโทษในทางอาญาก็ต่อเมื่อได้กระทำการอันกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำนั้นบัญญัติเป็นความผิด และกำหนดโทษไว้ และโทษที่จะลงแก่ผู้กระทำความผิดต้องเป็นโทษที่บัญญัติไว้ในกฎหมาย" หลักมาตรานี้ ถูกยกไปไว้ในรัฐธรรมนูญเกือบทุกฉบับ มาจากสุภาษิตละตินว่า "ไม่มีความผิดและไม่มีโทษโดยไม่มีกฎหมาย หรือ nullum crimen, nulla poena sine lege" เป็นหลักพื้นฐานของการปกครองโดยกฎหมาย และประชาธิปไตยในทางเนื้อหา ทุกคนต้องอยู่ภายใต้กฎหมายเดียวกันที่ได้บัญญัติเป็นความผิด และกำหนดโทษไว้โดยเลือกฐานะหรือตำแหน่ง หลักนี้ในรัฐธรรมนูญชั่วคราวปี ๒๕๕๗ ก็บัญญัติไว้
            มาตรานี้ ทำให้เกิดหลักของการใช้กฎหมายอาญาขึ้น ๓ ประการ ได้แก่
            ๑.การจะลงโทษบุคคลใดได้ จะต้องมีกฎหมายบัญญัติเป็นความผิดและกำหนดโทษไว้ซึ่งก็มาจากคำในมาตรา ๒ ที่ว่า"บัญญัติเป็นความผิด" และ "กำหนดโทษไว้" และต้องบัญญัติให้ชัดเจน ทั้งจะใช้กฎหมายจารีดประเพณีและกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่ง (anology) มาลงโทษก็ไม่ได้
            ตัวอย่างกรณีไม่มีกฎหมาย "บัญญัติเป็นความผิด" ไว้ได้แก่ ตาม ป.อ. มาตรา ๒๑๗ บัญญัติไว้ว่าการวางเพลิงเผา "ทรัพย์ของผู้อื่น" เป็นความผิด  ไม่มีข้อความว่า  "หรือผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย" จึงตีความคำว่า "ทรัพย์ของผู้อื่น" ให้รวมถึงทรัพย์ที่ผู้อื่นมีส่วนเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วยไม่ได้ (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๓๖๔๓/๒๕๒๖) การทำให้เสียทรัพย์โดยประมาทไม่มีกฎหมายบัญญัติเป็นความผิดอาญา(คำพิพากษาศาลฎีาที่ ๒๒๗๗/๒๕๕๔ ดูหมิ่นซึ่งหน้า ตาม ป.อ.มาตรา ๓๙๓ ถ้าเป็นการกล่าวด้วยวาจาต้องกล่าวต่อหน้าผู้เสียหาย ถ้าโทรศัพท์ด่าคนละอำเภอกันไม่เป็นความผิดมาตรานี้(คำพิพากษาฎีกาที่ ๓๗๑๑/๒๕๕๗

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น