ความหมายของคำว่า กองมรดก จะต้องทำความเข้าใจให้ได้เพราะหากเป็น กองมรดก แล้วต้องดำเนินการตามมาตรา 1599 ถึงมาตรา 1755 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ความหมายของ กองมรดก อยู่ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1600 โดยต้องเป็นทรัพย์สินหรือสิทธิของเจ้ามรดกซึ่งเจ้ามรดกมีอยู่แล้วในเวลาที่เจ้ามรดกตาย (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1016/2513,2604/2516,17/2524)
คำพิพากษาศาลฎีกาวินิจฉัยเกี่ยวกับทรัพย์มรดกที่ควรจดจำมีดังนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2401/ 2515 ประชุมใหญ่ วินิจฉัยว่าแม้เงินพิพาทจะไม่ใช่ทรัพย์มรดกแต่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 6 ลักษณะมรดกเป็นกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งในอันที่จะใช้บังคับได้ศาลฎีกาจึงมีคำวินิจฉัยว่าเงินพิพาทเสมือนหนึ่งเป็นทรัพย์มรดกจึงตกทอดแก่ทายาทโดยธรรมตามมาตรา 1629 ถึงมาตรา 1638 ต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 370 / 2506 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 678 - 680/2535 และ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8485/2544 วินิจฉัยเป็นแนวเดียวกันว่าดอกผลของทรัพย์มรดกไม่ใช่ทรัพย์มรดกโดยเฉพาะคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 678-680/2535 ได้วินิจฉัยไว้ด้วยว่าเมื่อทายาทปิดบังหรือยักย้ายทรัพย์ซึ่งเป็นดอกผลของทรัพย์มรดกจึงไม่ถูกกำจัดไม่ให้รับมรดก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4714/2542 วินิจฉัยว่า เงินประกันชีวิตตามมาตรา 897 มิใช่กองมรดก โดยวินิจฉัยว่าทรัพย์สินใดบ้างเป็นกองมรดก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1174/2508 คำพิพากษานี้วินิจฉัยว่าการทำพินัยกรรมยกศพ เป็นการต่างๆที่ผู้ตายพึงกระทำได้ โดยมิได้วินิจฉัยโดยตรงว่าศพเป็นทรัพย์สินหรือไม่
เมื่อทราบความหมายของกองมรดกแล้วต่อไปก็จะต้องรู้ว่ากองมรดกจะตกทอดเมื่อใด โดยผู้เขียนจะนำเสนอต่อไป
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น